จริงๆ แล้วในโลกของการเงินและการลงทุน ความเสี่ยงมากที่สุด คือ การไม่กล้าเสี่ยง เพราะเงินออมที่เราหยอดกระปุก หรือเอาไปฝากธนาคาร ไม่มีทางเพิ่มขึ้นได้ทันกับราคาสินค้า ที่เพิ่มขึ้นแน่ๆ ดังนั้นแม้ว่า เราอาจจะไม่ใช่คนชอบเสี่ยง แต่ควรจะแบ่งเงินมาลงทุนในหุ้น ไว้บ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสให้เงินของเรางอกเงยขึ้น เพราะฉะนั้นอย่ารอช้า ไปเริ่มขั้นตอนแรกของการลงทุนกันเลยดีกว่า
ถ้ายังจำเส้นทางในการเป็นเจ้าของกิจการได้ จะรู้ว่าก่อนที่จะเริ่มก้าวเดินเราจะต้องมี “เป้าหมาย” กันก่อน การเป็นเจ้าของกิจการผ่านการลงทุนในหุ้นก็เช่นกัน ก่อนจะโดดเข้าไป ซื้อหุ้น
ขั้นตอนแรกสำคัญที่สุด เหมือนกับ การทำธุรกิจ ที่ก้าวแรกสำคัญที่สุด (และ ยากที่สุดด้วย) ดังนั้นถ้ายังไม่สามารถตอบ คำถามพวกนี้ได้อย่างชัดเจน อย่าเพิ่งข้าม ไปขั้นตอนต่อไป เพราะคำตอบที่ออกมาจะ บอกได้ว่า เราจะต้องเป็นนักลงทุนแบบไหน และเลือกลงทุนในหุ้นแบบไหน รวมไปถึง เลือกเครื่องมืออะไร ถึงจะทำให้บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้
ในโลกของการลงทุนในหุ้น มีนักลงทุนอยู่ หลายแบบ ที่มี “สไตล์” การลงทุนที่แตกต่าง กัน ขณะที่ตัวหุ้นเองก็มี “บุคลิก” หลายแบบ เช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเรามีเป้าหมายที่ต่างกันก็จะต้องใช้สไตล์การลงทุน และเลือก ลงทุนในหุ้นที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน
ถึงจะเป็นหุ้นเหมือนกัน แต่หุ้นก็มีหลายประเภท ไม่ได้มีแค่หุ้นเติบโต หรือหุ้นคุณค่า แต่ยังมี หุ้นบลูชิป หุ้นเก็งกำไร หุ้นบิ๊กแคป หุ้นสมอลแคป และอีกมากมาย แล้วแต่ว่า คนที่พูดเขาใช้อะไรเป็น “เกณฑ์” ในการแบ่งประเภทหุ้น ถ้าใช้ “พื้นที่” เป็นเส้นแบ่ง ก็จะทำให้มีหุ้น 2 กลุ่ม คือ หุ้นในประเทศ กับ หุ้นต่างประเทศ โดยที่หุ้นในประเทศก็คือหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ขณะที่หุ้นต่างประเทศก็คือหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในประเทศอื่น (ซึ่งต้องขอบคุณโลกไร้พรมแดนที่ทำให้เราสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ไม่ยาก) หรือถ้าแบ่งตามประเภทของตลาดที่ซื้อขายหุ้น จะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดแรก เป็นหุ้นที่นำมาขายให้ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่า “หุ้นไอพีโอ” (IPO: Initial Public Offering) กลุ่มที่สองเป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดรอง หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (หลังจากขายไอพีโอเรียบร้อยแล้ว) และกลุ่มสุดท้ายเป็น หุ้นที่ไม่ได้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่เจ้าของกิจการและนักลงทุนจะไปเจรจา ซื้อขายกันเอง แต่โดยทั่วๆ ไปที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ จะแบ่งตามลักษณะของกิจการ แบ่งตาม สไตล์ของหุ้น และแบ่งตามมูลค่าตามราคาตลาด อย่างไรก็ตาม หุ้นตัวหนึ่งอาจจะถูกจัดให้อยู่ในหลายประเภทก็ได้ เช่น หุ้น ABC ในตอนนี้อาจจะเป็นหุ้นเติบโต แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจจะกลายเป็นหุ้นบลูชิปก็เป็นได้ ขณะที่หุ้น XYZ มีขนาดเล็กไม่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ แต่ในเวลาเดียวกัน อาจจะเป็นหุ้นคุณค่าที่มีอนาคตดีก็ได้
ถ้านักลงทุนที่ตอบตัวเองว่า เป้าหมายของเขา คือ ต้องการผลตอบแทนในระยะสั้น เพราะฉะนั้นเขาจะไม่มานั่งรอเงินปันผล (ซึ่งอาจจะต้องรอกันหลายเดือน) แต่จะคาดหวังกำไรจากการขายหุ้นเพียงอย่างเดียว โดยอาจจะใช้เวลาลงทุนเพียงแค่ไม่กี่เดือน หรือ อาจจะไม่กี่วัน
นักลงทุนแบบนี้จะใช้ “ปัจจัยทางเทคนิค” เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น มากกว่าการพิจารณาจาก “ปัจจัยพื้นฐาน” (เดี๋ยวเราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันอีกที)
เราจะเรียกพวกเขาว่า นักเก็งกำไร ซึ่งถ้าเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้นมากๆ ซื้อขายภายในวันเดียวกัน หรือ “ซื้อเช้า-ขายเย็น” ก็จะเรียกว่า เป็นพวก “เดย์เทรด” (Day Trade) ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก (ถึงมากที่สุด) เพราะฉะนั้นนักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนแบบนี้จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความรู้ในการใช้ปัจจัยทางเทคนิค ต้องมีเวลาที่จะ เฝ้ารอจังหวะการซื้อขาย และที่สำคัญ คือ จะต้องมีวินัยในการลงทุนสูงมาก
หุ้นที่นักลงทุนสไตล์นี้จะเลือกลงทุน จะเป็นหุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต (อันใกล้) หรือเรียกว่า หุ้นเติบโต (Growth Stocks) แต่ถ้าเป็นนักเก็งกำไร ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค แต่จะซื้อหรือขายหุ้นตามคนอื่น เชื่อข่าวลือ มั่นใจในข่าวลวง โดยไม่สนใจปัจจัยพื้นฐานก็จะถูกเรียกว่า “แมลงเม่า” ที่ชอบพาตัวเอง ไปตายในกองไฟ เพราะจะถูกหลอกให้ซื้อหุ้นที่ถูกปั่นราคาจนสูงเกินความเป็นจริง และ เมื่อราคาหุ้นร่วงลงมาก็จะไม่ยอมขายทิ้ง ซึ่งเราจะเรียกอาการนี้ว่า “ติดดอย” ที่ทำให้ นักเก็งกำไรจำนวนมาก กลายเป็นนักลงทุนระยะยาวแบบไม่ได้ตั้งใจ
สำหรับพวกเราที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ต้องการ ผลตอบแทนทั้งที่เป็นเงินปันผล และกำไรจากการขายหุ้น เพราะฉะนั้นระยะเวลาลงทุนไม่ใช่แค่ 1-2 วัน แต่จะต้องมากกว่า 1-2 ปีขึ้นไป และอาจจะกลายเป็น 5-10 ปี หรือนานกว่านั้น ถ้ามั่นใจว่า หุ้นที่เราลงทุนเป็นบริษัทที่ดี จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่าเพิ่งตกใจว่า “ตั้ง 5 ปี 10 ปี นานไปไหม” เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการลงมือ ทำธุรกิจเอง เรายังต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือหลายปี กว่าจะถึง “จุดคุ้มทุน” และเมื่อเป็นเจ้าของกิจการที่ดี เราก็ต้องอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของเราไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะเจอธุรกิจที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้ “รักฉาบฉวย” แบบนักเก็งกำไร แต่เป็น “รักแท้” แบบนักลงทุนระยะยาว
ลักษณะหุ้นที่เหมาะกับเราก็น่าจะเป็นหุ้นของบริษัทที่มีความมั่นคง ทำกำไรได้ดี มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ราคาหุ้นไม่ผันผวนมากนัก โดยราคาอาจจะขึ้นๆ ลงๆ บ้าง แต่ไม่รุนแรง และที่สำคัญ คือ ต้องเป็น “หุ้นดีราคาถูก” ซึ่งเราเรียกหุ้นลักษณะ นี้ว่า หุ้นคุณค่า (Value Stocks) และเรียกนักลงทุนที่เน้นลงทุนหุ้นประเภทนี้ว่า “นักลงทุนหุ้นคุณค่า” หรือ Value Investor (VI)
นักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนแบบ VI ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ อภิมหาเศรษฐีระดับโลก ที่ชื่อ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ซึ่งถ้าอยากจะประสบความสำเร็จแบบนั้นบ้าง เราสามารถหาหนังสือที่สอนวิธีคิดและวิธีการลงทุนของเขามาอ่านได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะมีเป้าหมายอย่างไร เป็นนักลงทุนแบบไหน ลงทุนหุ้นลักษณะใด ยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ก็ต้องไม่ลืมกระจายการลงทุน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนลงได้ เพราะหลักการลงทุนที่ดี คือ อย่าใส่ไข่ทั้งหมดที่มี ไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน เพราะถ้าตะกร้าใบหนึ่งตกลงมา เราก็ยังเหลือไข่ในตะกร้า ใบอื่นอยู่
เราจึงไม่ควรทุ่มเงินทั้งหมดที่มีลงไปในหุ้นตัวเดียว แต่ควรกระจายลงทุนในหลายอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมเดียวกันกระจายลงทุนหลายบริษัท (การลงทุนหุ้นดีกว่าการทำธุรกิจเองก็ตรงนี้ล่ะ)
เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วว่า เราตั้งใจจะเป็นเจ้าของกิจการผ่าน การลงทุนในหุ้น โดยการลงทุนระยะยาว เพราะฉะนั้นเราต้องเลือก “หุ้นที่ดี” มีอนาคต แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ในบรรดาหุ้นที่มีอยู่มากกว่า 500 ตัว ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตัวไหน หรือบริษัทไหน จะเป็นหุ้นที่ดีน่าลงทุน
จริงๆ แล้ว มันก็คล้ายกับวิธีที่เราเลือก “ธุรกิจ” ที่เราอยากทำ เพราะ ต้องเริ่มจากการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ โดยประเมินสภาพตลาด โอกาสการเติบโต คู่แข่ง อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งประเมินศักยภาพ ของตัวเราเอง จนแน่ใจว่า ธุรกิจนั้นมัน “เจ๋งจริง”
ในการคัดเลือกหุ้นจะเรียกการวิเคราะห์ในลักษณะนี้ว่า “การวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน” (Fundamental Analysis) ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้นตอน เริ่มจากการ วิเคราะห์ภาพรวมทางเศรษฐกิจ จากนั้นจึงวิเคราะห์ภาวะของอุตสาหกรรม แล้วจึงวิเคราะห์ตัวบริษัท
แค่เห็นคำว่า “เศรษฐกิจ” ก็เหมือนถูกวิชาเศรษฐศาสตร์ตามมาหลอกหลอน แต่ไม่ต้อง ได้เกรด A ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็สามารถมองออกว่า ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มว่าจะไปในทิศทางไหน เพียงแค่ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการลงทุนเป็นประจำ ตอนแรกๆ ก็อาจจะงงๆ อยู่บ้าง (ไม่แปลกอะไร) แต่รับรองว่า ถ้าอ่านไปสักระยะ ฟังไปสักพัก จะเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่งแน่นอน
แต่ถ้ายังรู้สึกว่า เศรษฐกิจเป็นเรื่องไกลเกินกว่าจะเข้าใจ น่าจะลองนึกถึงเวลาไป เดินซื้อของแล้วได้ยินพ่อค้าแม่ค้าเขาบ่นว่า “ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดีเลย ขายของไม่ค่อยได้” หรือ พ่อแม่บ่นว่า “ทำไมของมันแพงอย่างนี้ เงิน 1,000 บาท ซื้อของได้ไม่กี่อย่าง” นั่นละ ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้า หรือพ่อแม่เราเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อ ราคาหุ้นอีกด้วย ถ้า “เศรษฐกิจไม่ดี” ราคาหุ้นก็มักจะลดลง เพราะนักลงทุนจะกลัวว่า คนมีรายได้ น้อยลง หรือไม่กล้าใช้เงิน บริษัทอาจจะขายของได้น้อยลง จนทำให้กำไรลดลง หรืออาจ จะถึงขั้นขาดทุนเลยก็ได้ และเมื่อบริษัทขาดทุนก็คงจะไม่มีเงินมาจ่ายเงินปันผล นักลงทุน จึงพากันขายหุ้นออกมา จนทำให้ราคาหุ้นลดลง แต่ถ้า “เศรษฐกิจดี” ราคาหุ้นมักจะเพิ่มขึ้น เพราะนักลงทุนมั่นใจว่า คนมีรายได้ มากขึ้น บริษัทจะขายของได้ดีขึ้น กำไรมากขึ้น และแน่นอนว่า จะต้องจ่ายเงินปันผล ได้สูงขึ้น ทำให้นักลงทุนพากันมาซื้อหุ้น จนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าคิดจะเป็นเจ้าของกิจการ (ไม่ว่า จะเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง หรือ ผ่านการ ลงทุนหุ้น) ก็ควรต้องเรียนรู้ให้มากกว่า “คำบ่น” ของคนทั่วๆ ไปและไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ ในประเทศ แต่ต้องรู้ทั้งเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้อง เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ เพราะภาวะเศรษฐกิจจะช่วยบอกได้ว่า อุตสาหกรรมไหนจะรุ่ง และ อุตสาหกรรมไหนจะร่วง
การจะวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจให้ “แม่น” ต้องรู้ว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะบอกว่า เศรษฐกิจดี หรือไม่ดี ซึ่งมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
นอกจากนี้ เรายังต้องติดตามนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพราะจะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลอาจจะมีนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่ใช่แค่รัฐบาลไทย แต่เป็นรัฐบาลประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และจีน
การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
เมื่อประเมินภาพรวมเศรษฐกิจได้แล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไป คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ว่า อุตสาหกรรมไหนน่าจะไปได้สวย ในภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา เพราะไม่ใช่ว่า ในช่วงเศรษฐกิจแย่ จะไม่มีอุตสาหกรรมไหนน่าลงทุน เพราะแต่ละอุตสาหกรรมจะ ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ ในบางอุตสาหกรรมยังอาจจะขึ้นมาเป็นดาวเด่นในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ได้อีกด้วย รวมทั้ง บางอุตสาหกรรมที่สามารถ “ขายได้เรื่อยๆ” ไม่ว่า เศรษฐกิจจะดี หรือ แย่ ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี หุ้นแบบนี้ค่อนข้างจะเนื้อหอม แต่ในช่วงเศรษฐกิจดี อาจจะถูกหุ้นตัวอื่นๆ บดบังรัศมีไปบ้าง
และไม่ใช่แค่ภาวะเศรษฐกิจเท่านั้นที่มีผลต่อกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะแต่ละ อุตสาหกรรมยังมี “วงจรชีวิต” ของตัวเองอีกด้วย ซึ่งทำให้ไม่ว่า เศรษฐกิจจะดี หรือ เศรษฐกิจจะแย่ แต่จะมีอุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่ง ดาวร่วง หรือดาวค้างฟ้า ได้เหมือนกัน โดยที่ช่วงชีวิตของแต่ละอุตสาหกรรม จะแบ่งเป็น 4 ช่วง
นอกจากนี้ เรายังต้องวิเคราะห์สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอีกด้วยว่า มีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งคนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง น่าจะยังจำได้ เราเคยวิเคราะห์ลักษณะนี้แล้ว ในช่วงที่เราประเมินว่า “ธุรกิจนี้น่าสนใจแค่ไหน” เพราะจะใช้หลักในการวิเคราะห์แบบเดียวกัน คือ
เมื่อวิเคราะห์และเลือกได้แล้วว่า อุตสาหกรรมไหนเข้าตากรรมการ ก็จะช่วยให้เบาแรงในการเลือกหุ้นลงไปเยอะ เพราะจากหุ้นหลายร้อยตัวในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็อาจจะเหลือแค่ไม่กี่สิบตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราสนใจเท่านั้น
การวิเคราะห์บริษัท
คราวนี้ก็ถึงเวลา “ค้นหาบริษัทที่น่าลงทุน” ซึ่งจะต้องวิเคราะห์เจาะลึก ดูทุกซอก ทุกมุม ตั้งแต่หน้าตาผู้บริหาร รูปแบบการทำธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ศักยภาพในการทำกำไร และล้วงไปจนถึงผลประกอบการของบริษัท
การวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์โดยพิจารณาจากข้อมูลทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่ตัวเลข และการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคิดเลข โดยนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร แล้วจึงจะตัดสินใจได้ว่า ดีหรือไม่ดี (บอกแล้วว่า ถ้าคิดจะเป็นเจ้าของกิจการ อย่าได้รังเกียจ “ตัวเลข” เพราะสิ่งที่ซ่อนอยู่หลังตัวเลขที่น่าปวดหัว มันคือ โอกาสที่จะสร้างผลตอบแทน)
ในท้ายที่สุด ต้องนำผลการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนมาประกอบการกัน ถึงจะตัดสินใจว่า หุ้นตัวไหนน่าลงทุน
การวิเคราะห์ที่ดูจากข้อมูลทั่วๆ ไปของบริษัท ก็คือ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ซึ่งสามารถนำหลักการวิเคราะห์บริษัทที่เรียกว่า SWOT มาใช้ เพื่อพิจารณาว่า...
ถ้าบริษัทไหนมีจุดแข็งที่โดดเด่น เช่น เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม มีสินค้า หลากหลายยี่ห้อดัง ได้รับการยอมรับจากลูกค้า แต่ก็ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งยังมีโอกาสดีๆ รออยู่ข้างหน้า ซึ่งเอื้อต่อการทำธุรกิจ ก็น่าจะเข้า ข่าย “น่าลงทุน” มากกว่าบริษัทที่มีแต่จุดอ่อน แถมยังมองไปทางไหนก็เห็น แต่อุปสรรค ที่ไม่รู้ว่า บริษัทจะรับมืออย่างไร
นอกจากนี้ สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยในการวิเคราะห์ตัวบริษัท คือ “ผู้บริหาร” เพราะเราในฐานะผู้ถือหุ้นจะต้องฝากกิจการของเราให้ “มืออาชีพ” บริหาร เพราะฉะนั้นจะต้องพิจารณาด้วยว่า บริษัทนั้นมีผู้บริหารเก่งแค่ไหน จะสามารถ นำพาบริษัทให้เติบโต ทำกำไรต่อเนื่อง และเหนือกว่าคู่แข่ง รวมทั้งต้องฝ่าฟัน วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารที่ชาญฉลาด ยังไม่น่าพอใจเท่ากับ บริษัทที่มี ผู้บริหารที่ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง เพราะคนเก่งแค่ไหนก็ทำให้บริษัทดีๆ พังลงมา ได้ ถ้าไม่มีธรรมาภิบาล
ทีนี้ก็มาถึงการวิเคราะห์จากตัวเลข หรือเรียกว่า การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งโชคดีที่พวกเราเรียนรู้เรื่องงบการเงินกันมาบ้างแล้วในขั้นตอนการทำแผน ธุรกิจว่า งบการเงิน ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด และงบแสดงฐานะการเงิน และยังรู้อีกว่า งบการเงินแต่ละอันสามารถบอก อะไรเราได้บ้าง
เพราะฉะนั้นถ้าต้องการจะรู้ว่า บริษัทมี “ฐานะทางการเงิน” แข็งแกร่ง แค่ไหนในช่วงที่ผ่านมา เราจะต้อง “อ่านงบการเงิน” ให้เป็น โดยต้องรู้ว่า ตัวเลขแต่ละตัวที่อยู่ในงบการเงินนั้นหมายความว่าอย่างไร
และที่พลาดไม่ได้เลย คือ หมายเหตุ ประกอบงบการเงิน ที่จะช่วยอธิบายเพิ่มเติม ว่า ตัวเลขในงบการเงินนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร นอกจากนี้ ยังต้องอ่าน รายงานผู้สอบบัญชี ซึ่งบอกว่า ข้อมูลในงบการเงินมีความถูกต้อง หรือไม่
นอกจากนี้ เรายังใช้ การวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน มาวิเคราะห์ความสามารถ ของบริษัทในด้านต่างๆ เช่น สภาพคล่อง ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ความสามารถ ในการทำกำไร และความสามารถในการ ก่อหนี้ ซึ่งอัตราส่วนทางการเงิน จะช่วยให้ เข้าใจตัวเลขที่อยู่ในงบการเงินง่ายขึ้น และ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนทางการเงิน มีอยู่หลายตัว และแต่ละตัวจะบอกข้อมูล แตกต่างกัน ซึ่งบางตัวควรจะมีค่าต่ำๆ ถึง จะดี เช่น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) แต่บางตัวค่าที่ได้ยิ่งสูงยิ่งดี เช่น อัตราผล ตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) นอกจากนี้ ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจจะให้ความสำคัญ กับอัตราส่วนคนละตัวกัน เพราะฉะนั้น ก่อนจะหยิบตัวไหนมาใช้ต้องศึกษาให้เข้าใจ ไม่อย่างนั้นอ่านค่าผิดแย่แน่ๆ
วิธีการเลือกหุ้นแบบนี้ ที่วิเคราะห์มา ตั้งแต่สภาพเศรษฐกิจ ที่มีผลต่ออุตสาหกรรม แล้วค่อยมาวิเคราะห์รายบริษัท เป็นการ วิเคราะห์แบบ “บนลงล่าง”
แต่ถ้าเราไม่ได้สนใจว่า เศรษฐกิจจะเป็น แบบไหน อุตสาหกรรมอะไรจะเด่น แต่ “รู้สึก” ว่าบริษัทนี้น่าสนใจ เพราะเดินผ่านหน้าร้าน เมื่อไร ขายดีตลอด จนอยากจะไปร่วมเป็น เจ้าของกิจการ ก็ไม่ผิดกติกาอะไร
เพียงแต่ก่อนจะตัดสินใจลงทุนก็ต้อง วิเคราะห์ตัวบริษัทให้ละเอียดกันอีกที เพื่อให้ มั่นใจว่า “ความรู้สึก” กับ “ความเป็นจริง” มันไปในทิศทางเดียวกัน เพราะบางทีที่เรา เห็นว่ามีลูกค้าเยอะ แต่จริงๆ แล้ว บริษัท อาจจะกำลังถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องอยู่ก็เคยมี ให้เห็นมาแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าใช้ความรู้สึก เป็นตัวตัดสิน
หลังจากเลือก “บริษัทที่น่าลงทุน” ได้แล้ว อย่าเพิ่งใจร้อนรีบวิ่งไปซื้อหุ้น เพราะบางทีบริษัท ที่ดี ก็อาจจะไม่ใช่ “หุ้นที่น่าซื้อ” เสมอไป เพราะในตอนนั้นมันอาจจะเป็นหุ้นที่ราคาแพงเกินไป การซื้อหุ้นแพง ก็เหมือน ซื้อของแพง ที่มีแต่คำว่าเจ็บ ทั้งเจ็บใจ (ใครรู้เข้าอายเขาแย่เลย) แต่นั่น ยังไม่มากเท่ากับเจ็บตัว เพราะซื้อของแพง จะไปขายต่อให้ใครก็ไม่มีใครสนใจ หรือถ้าอยากขาย ก็ต้องยอมขายขาดทุน เพราะฉะนั้นต้องมาประเมินมูลค่าหุ้นกันก่อนว่า ราคาหุ้นของบริษัทที่เรา สนใจ ถูก หรือแพง
แต่ไม่ใช่ว่า หุ้นราคาหุ้นละ 1 บาท จะเป็นหุ้นราคาถูก และหุ้นราคาหุ้นละ 500 บาท จะ เป็นหุ้นราคาแพง เพราะสิ่งที่จะบอกได้ว่า หุ้นตัวนั้นถูก หรือแพง ต้องนำ “ราคาหุ้น” ในตอนนั้น มาชั่งน้ำหนักกับ “มูลค่าที่แท้จริง” ซึ่งเป็นมูลค่าที่ควรจะเป็นของหุ้นตัวนั้น ว่าอันไหนมากกว่ากัน
ถ้ามูลค่าที่แท้จริง มากกว่า ราคาหุ้น ในตอนนั้น ก็แสดงว่า หุ้นตัวนั้นราคาต่ำกว่า ที่ควรเป็น ถึงจะ “น่าซื้อ” เพราะราคาถูก
แต่ถ้า มูลค่าที่แท้จริงน้อยกว่าราคาหุ้น ในตอนนั้น แสดงว่า หุ้นตัวนั้นราคาสูงกว่า ที่ควรเป็น ก็ “ไม่ควรจะซื้อ” และถ้ามีหุ้น ตัวนั้นอยู่ในมือก็ “ควรจะขาย” ออกไป เพราะราคาแพงเกินไป
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า “มูลค่าที่แท้จริง” ของหุ้นตัวนั้นควรจะเป็นเท่าไร... เรื่องนี้ไม่ยากและไม่ต้องเดา เพราะการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น มีอยู่หลายวิธี (แล้วแต่ว่า ใครจะถนัดแบบไหน) แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด จะมีอยู่ 2 วิธี คือ
วิธีการนี้ เป็นการนำราคาหุ้นไปเปรียบเทียบกับตัวเลขทางบัญชี เช่น นำราคาหุ้นไป เปรียบเทียบกับ “กำไรต่อหุ้น” หรือนำราคาหุ้นไปเปรียบเทียบกับ “มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น”
อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio)
นักลงทุนมักจะเรียกสั้นๆ ว่า P/E Ratio หรือถ้าสั้นกว่านั้นก็เหลือแค่ P/E ซึ่งมีวิธีคิด ตรงตามชื่อเรียกเป๊ะ เพราะเป็นการนำราคา ซึ่งคือ P (ย่อจากคำว่า Price) มาหารด้วย กำไรต่อหุ้น ซึ่งคือ E (ย่อจากคำว่า Earnings) และผลที่ออกมาจะบอกว่า นักลงทุน ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นเป็นเงินกี่เท่าของกำไรที่บริษัททำได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทที่เราสนใจ มีกำไร 1 บาทต่อหุ้น และราคาหุ้นอยู่ที่ 10 บาท แปลว่า นักลงทุนยอมควักกระเป๋าซื้อหุ้นด้วยราคาที่สูงกว่ากำไรที่บริษัททำได้ ถึง 10 เท่า และถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้ปีละ 1 บาทไปเรื่อยๆ นักลงทุนต้องรอถึง 10 ปี กว่าที่จะ ได้ทุนคืน เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทมี P/E Ratio ต่ำ แปลว่า ราคาหุ้นยังต่ำกว่าความสามารถ ในการทำกำไรของบริษัท รออีกไม่กี่ปีก็จะได้ทุนคืน แต่ถ้าค่า P/E Ratio สูง แสดงว่า ราคาหุ้นสูงเกินไปเมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท และต้องรออีก หลายปีเลยกว่าที่จะคุ้มทุน เมื่อเป็นแบบนี้ เราก็ควรจะเลือกซื้อหุ้นที่มี P/E Ratio ต่ำ ดีกว่า ซื้อหุ้นที่ P/E Ratio สูง
แต่เพื่อความยุติธรรม เราจะต้องนำค่า P/E Ratio ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย ของอุตสาหกรรม หรือบริษัทคู่แข่ง ด้วยว่า บริษัทที่เราสนใจ มีค่า P/E Ratio มากกว่า หรือน้อยกว่า เพราะถ้าเป็นการเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งที่มีลักษณะการทำธุรกิจ อัตราการเติบโต และความเสี่ยงคล้ายๆ กัน ก็ควรเลือกซื้อบริษัทที่ P/E Ratio ต่ำกว่า เพราะราคาถูกกว่า
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่มี P/E Ratio สูงก็อาจจะเป็นหุ้นที่น่าลงทุนได้เหมือนกัน ถ้าเรา เชื่อมั่นว่า บริษัทมีแนวโน้มที่จะมีกำไรสูงขึ้นในอนาคต จึงยอมที่จะจ่ายมากขึ้น เพื่อหวัง กำไรและเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับ และหากบริษัททำกำไรได้เพิ่มขึ้นจริงๆ ค่า P/E Ratio จะลดลงในที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องพิจารณาอัตราการเติบโตของกำไรประกอบกันด้วย
ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value หรือ PBV)
แนวคิดคล้ายๆ กับ P/E Ratio เพียงแต่เปลี่ยนจากการเปรียบเทียบราคากับ กำไร มาเป็นการเปรียบเทียบราคากับมูลค่าทางบัญชี เพราะฉะนั้น PBV จะบอกได้ว่า นักลงทุนยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น หารด้วย จำนวนหุ้น เพราะฉะนั้นน่าจะ พอบอกได้ว่า มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น เป็นการบ่งบอกถึงความมั่งคั่ง หรือมูลค่าที่แท้จริง ของบริษัท (แต่เป็นความมั่งคั่งตามหลักการทางบัญชีเท่านั้น ซึ่งกิจการบางอย่าง อาจจะมีมูลค่าอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่บันทึกลงในบัญชี เช่น มูลค่าของตราสินค้า)
เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทที่เราสนใจมีค่า PBV ต่ำ ก็หมายความว่า เราสามารถ ซื้อหุ้นได้ในราคาถูก เพราะซื้อด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี แต่ในทางกลับกัน ถ้า PBV สูง แสดงว่า เราซื้อหุ้นแพง
อย่างไรก็ตาม PBV อาจจะเหมาะกับบางหุ้นในบางกลุ่มเท่านั้น เพราะบาง อุตสาหกรรม เช่น ในธุรกิจด้านการบริการ อาจจะมีมูลค่าทางบัญชีต่ำกว่ามูลค่า ที่แท้จริงของกิจการ ดังนั้นจึงนิยมใน PBV มาใช้กับอุตสาหกรรมที่มูลค่าทางบัญชี สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ เช่น กลุ่มธนาคาร
และต้องไม่ลืมนำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม หรือบริษัท คู่แข่ง ด้วย
นอกจากนี้ บริษัทที่มี PBV ต่ำอาจจะไม่ได้หมายความว่าเป็นบริษัทที่น่าสนใจ หรือ ราคาถูก เพราะการที่บริษัทมี PBV ต่ำ อาจจะเป็นเพราะความสามารถในการทำกำไร ไม่ค่อยดี หรือบริษัทอาจจะกำลังมีปัญหาในการดำเนินงานอยู่ก็ได้
ในทางกลับกันบริษัทที่มี PBV สูง อาจจะแสดงว่า บริษัทกำลังมีแนวโน้มที่จะ ทำกำไรและมีอัตราการเติบโตที่ดีก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้าบริษัทที่เราสนใจ มี PBV สูง ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะถ้าเราพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น P/E Ratio ประกอบเข้าด้วย กันแล้วมั่นใจว่า “น่าซื้อ” ก็ยังน่าลุ้น เพียงแต่ต้องเตรียมใจไว้หน่อยว่า ความเสี่ยง อาจจะสูงสักหน่อย
ต้องบอกกันไว้ก่อนเลยว่า การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีการนี้ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่า วิธีการแรก แต่เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์เชื่อกันว่า เป็นการประเมินที่มองรอบด้านมากที่สุด และมูลค่าหุ้นที่ได้จะสมเหตุสมผลมากที่สุด
การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล คือ การนำเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับจากหุ้นตลอดช่วงที่เรายังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และราคาหุ้นที่คาดว่าจะขายได้ มาคำนวณให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน โดยใช้อัตราคิดลด (Discount Rate) เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ จากการลงทุนในหุ้นนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าจะหามูลค่าหุ้นด้วยวิธีการนี้จะต้องมีตัวเลข 3 ตัวอยู่ในใจ (เป็นตัวเลขที่ “ต่างคนต่างคิด” จึงไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด) นั่นคือ
จากนั้นจึงนำตัวเลขทั้ง 3 ตัว ไปคำนวณ “ตามสูตร” Vt = Dt+1 ke - g
โดยที่ Vt คือ มูลค่าของหุ้นสามัญ ณ เวลา t Dt+1 คือ มูลค่าของหุ้นสามัญ ณ เวลา t+1 ke คือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญ g คือ อัตราเติบโตของเงินปันผล
เพียงเท่านี้ก็จะได้ “มูลค่าหุ้นที่แท้จริง” ตามราคาปัจจุบันออกมา แล้วจึงนำไปเปรียบ เทียบกับราคาหุ้นในตอนนั้น โดยถ้ามูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาหุ้นในตอนนั้นก็ถือว่า เป็นหุ้น ราคาถูก แต่ถ้ามูลค่าที่แท้จริงต่ำกว่า แสดงว่า หุ้นตัวนั้นราคาแพงเกินไป
อุตส่าห์ค้นจนเจอ “หุ้นในดวงใจ” แล้ว และรู้แล้วว่า มูลค่าที่แท้จริงเป็นเท่าไร แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไรถึงควรจะซื้อ และเมื่อไรถึงควรจะขาย เพราะราคาหุ้น ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ยืนนิ่งๆ ถ้านำราคาหุ้นมาเขียนเป็นกราฟเส้นจะเห็นชัดเลยว่า เส้นกราฟจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นเพื่อให้รู้จังหวะการลงทุน ก็ต้องมาเรียนรู้ “การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค” อีกอย่างหนึ่ง เพื่อช่วยให้การลงทุนมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เป็นการศึกษาพฤติกรรมของราคาหุ้น หรือ ตลาดหุ้น โดยเชื่อว่า ราคาหุ้นที่ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลานั้น เป็นการสะท้อนถึงข่าวดี และข่าวร้าย รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามามีผลต่อตลาดไว้หมดแล้ว และ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจะมีรูปแบบคล้ายกับพฤติกรรมในอดีต จึงทำให้ คาดการณ์อนาคตได้ เพราะ “ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิม”
เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค จะช่วยให้คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวไปทางไหน และนักลงทุนที่สามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ จะสามารถวางกลยุทธ์ในการลงทุนได้ดี เพราะจะกำหนดว่า เมื่อไรควรจะซื้อหุ้น และเมื่อไรควรจะขายหุ้นออกไป ตามแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
แม้ว่า เส้นกราฟราคาหุ้นจะซิกแซกขึ้นลง แต่ถ้ามองให้ดีๆ จะเห็นว่า มันมี “แนวโน้ม” ที่จะเป็น “เส้นตรง” ในระยะยาว เพียงแต่จะเป็นเส้นตรงที่เหมือนการเดินขึ้นบันได หรือ เส้นตรงที่กำลังวิ่งลงบันได หรืออาจจะเป็นเส้นตรงในแนวราบไม่ได้ขึ้นหรือลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในแนวโน้มใหญ่ ซึ่งต้องมองกันยาวๆ และอาจจะกินเวลาหลายปี จะมี แนวโน้มรองและแนวโน้มย่อย แทรกอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งนักลงทุนที่มีเป้าหมายในการลงทุน ระยะสั้นและระยะกลาง สามารถใช้แนวโน้มรองและแนวโน้มย่อย ให้เป็นประโยชน์ได้ เพราะการขึ้น หรือลงบันไดติดต่อกันนานๆ มันก็ต้องเหนื่อยกันบ้าง เพราะฉะนั้นใน บางช่วงเวลาเราจะได้ยินคำว่า “พักฐาน” ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาพักเหนื่อย อยู่นิ่งๆ สักพัก ก่อนที่จะตัดสินใจว่า จะไปตามแนวโน้มเดิม หรือ เปลี่ยนใจกลับไปอีกทางหนึ่ง ถ้าเราเห็นว่า ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น เราก็ใช้เป็นจัง
แนวรับ คือ ระดับที่ราคาหุ้นจะไม่ลงไป ตำ่กว่านี้อีก เพราะถ้าตำ่กว่านี้ นักลงทุน จะเข้ามาซื้อ (เพราะเห็นว่าราคาต่ำแล้ว) ก็จะทำให้ราคาไม่ลดลงไปอีก
แนวต้าน คือ ระดับที่ราคาหุ้นจะไม่ขึ้นไป สูงกว่านี้อีก เพราะถ้าสูงกว่านี้ นักลงทุน ที่มีหุ้นนี้อยู่ในมือจะขายออกมา (เพราะ คิดว่า ได้กำไรมากพอแล้ว) ทำให้ราคา ขยับขึ้นไปต่ออีกไม่ได้แล้ว
ถ้ามองไปที่กราฟราคาหุ้น ไม่ว่า จะเป็น หุ้นที่อยู่ในแนวโน้มแบบไหน เราจะสามารถ ลากเส้นขนานโดยเส้นหนึ่งเป็นเพดาน (เรียกว่า แนวต้าน) สำหรับราคาหุ้น และ อีกเส้นหนึ่งเป็นพื้น (เรียกว่า แนวรับ) สำหรับ ราคาหุ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดมากขึ้นถ้าเป็น แนวโน้มในแนวราบ
เพราะฉะนั้น การเลือกจังหวะการลงทุน ก็ควรจะซื้อ เมื่อราคาอยู่แถวๆ แนวรับ และ ขายออกไปเมื่อราคาขึ้นถึงบริเวณแนวต้าน แต่ถ้าไม่มั่นใจว่า เมื่อไรควรจะซื้อ หรือพูดง่ายๆ ว่า ไม่รู้ “จุดซื้อ” ก็แนะนำ ให้ใช้วิธีการซื้อเป็นประจำ (Dollar Cost Averaging) ซึ่งเป็นการทยอยซื้อไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปสนใจว่า ราคาตอนนั้นจะเป็น อย่างไร ตราบเท่าที่เรายังมั่นใจว่า บริษัท ที่เราลงทุนอยู่นั้นเป็นบริษัทที่ดี นอกจากนี้ ยังเหมาะกับนักลงทุนที่ยังมีทุนไม่มาก เพราะเป็นการซื้อน้อยๆ แต่ซื้อบ่อยๆ ค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ สิ่งที่นักลงทุนต้องพึงระลึกไว้เสมอ คือ เมื่อไรจะขาย หรือที่เรียกกันว่า กำหนด “จุดขาย” โดยต้องตั้งเป้าราคาที่ต้องการขายไว้ตั้งแต่วันที่เริ่มซื้อ ซึ่งมี 2 กรณีคือ ขายเพราะขาดทุน และขายเพราะกำไร
กรณีขายเพราะขาดทุน จะเกิดเมื่อราคาหุ้นลดลงมามากจนเกินระดับความเสี่ยงที่เรา ยอมรับได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “เกินจะทนขาดทุนไหว!” เราก็ควรจะตัดสินใจขายเพื่อ หยุดขาดทุน หรือ “Stop Loss” ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนักลงทุนหลายคนที่ “ซื้อเป็น แต่ขายไม่เป็น” แม้ว่า ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่ถืออยู่จะเปลี่ยนไปแล้ว ขาดทุนไปแล้ว ก็ยัง “หวังลมๆ แล้งๆ” ว่าวันหนึ่งมันจะกลับมา แต่มันก็ไม่เคยกลับมา
ส่วนกรณีขายเพราะกำไร จะเกิดเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจนถึงราคาเป้าหมายที่เรา ตั้งไว้ เราก็ควรจะขายเพื่อทำกำไร แต่ถ้าวิเคราะห์ดูแล้วว่า ราคาหุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น เราอาจจะไม่จำเป็นต้องขายหุ้นตามเป้าหมายเดิมที่ตั้งใจไว้ก็ได้ เพราะเราสามารถเพิ่มราคาเป้าหมายที่จะขายขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่า Let Profit Run
เย้! ในที่สุดก็พร้อมแล้วที่จะได้เป็น “เจ้าของกิจการ” กันจริงๆ แล้ว แต่อย่าได้เดินไปที่อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วบอกว่า “จะมาซื้อหุ้น” เด็ดขาด เพราะการซื้อขายหุ้นต้องทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนมักเรียกว่า โบรกเกอร์ เท่านั้น
เพราะฉะนั้นขั้นตอนแรก คือ ต้องไป “เปิดบัญชี” กับโบรกเกอร์กันก่อน โดยควรจะเลือกโบรกเกอร์ที่เรามั่นใจว่า มีฐานะการเงินมั่นคง ให้บริการที่ดี และเหมาะกับเรา มากที่สุด เพราะโบรกเกอร์แต่ละแห่งอาจจะมีเงื่อนไขวงเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี และ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายแตกต่างกันไป ซึ่งนักลงทุนสามารถหาข้อมูลโบรกเกอร์ สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.set.or.th หน้าสินค้าและบริการ หัวข้อบริษัทสมาชิก
บัญชีสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ มีอยู่ 3 แบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีเงื่อนไข ข้อกำหนด ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจว่า จะเปิดบัญชีแบบไหน ต้องมาดูกันก่อนว่าบัญชีแบบไหนที่เหมาะกับเรา
บัญชีเงินสด (Cash Account)
บัญชีประเภทนี้ เป็นแบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” เพราะเราสามารถสั่งซื้อหุ้นไปก่อน แล้วค่อยนำเงินไปจ่ายค่าหุ้นภายใน 3 วัน หรือที่เรียกว่า T+3 โดยที่ T หมายถึงวันที่สั่งซื้อหรือขาย แล้วบวกไปอีก 3 วันทำการ (ไม่นับวันหยุด)
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเปิดบัญชีประเภทนี้ได้ หรือจะซื้อขายเท่าไรก็ได้ตามใจชอบ เพราะโบรกเกอร์จะเป็นผู้อนุมัติว่า ใครที่เหมาะจะใช้บัญชีประเภทนี้ และวงเงินที่สามารถซื้อขายได้
เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับนักลงทุนที่ “เครดิตดี” เพราะการอนุมัติวงเงินจะพิจารณาจากหลักฐานทางการเงิน ซึ่งจะประเมิน ได้ว่า เราเป็นคนที่ฐานะดี มีหลักประกัน และมีความสามารถในการชำระหนี้ หรือไม่
นอกจากนี้ ก่อนซื้อขายหุ้นจะต้องฝากเงินสด (หรือฝากหุ้นก็ได้) เพื่อเป็นหลักประกันไว้ที่โบรกเกอร์ 15% ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ เช่น ถ้าได้รับอนุมัติวงเงิน 500,000 บาท ต้องวางหลักประกันเป็นเงิน 75,000 บาท แต่สามารถซื้อขายหุ้นได้สูงถึง 500,000 บาท เพราะฉะนั้นถ้าจะเลือกเปิดบัญชีประเภทนี้ต้องมีวินัยในการลงทุน และมั่นใจว่า มีเงินสดพร้อมที่จะนำมาจ่ายค่าหุ้นภายใน 3 วัน
บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance)
บัญชีประเภทนี้จะต้องนำเงินสดไปฝากไว้กับโบรกเกอร์ และจะซื้อหุ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ฝากไว้กับโบรกเกอร์ เพราะฉะนั้น “มีเงิน แค่ไหน ซื้อได้แค่นั้น” และถ้าอยากจะซื้อมากกว่าจำนวนเงินที่ฝากไว้ ก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่โอนเงินเข้าไปในบัญชีเพิ่ม
เพราะฉะนั้นบัญชีประเภทนี้จะเหมาะกับคนที่ทุนน้อย เพราะไม่ต้องใช้หลักฐานทางการเงินในมูลค่าสูงๆ เท่ากับบัญชีเงินสด หรือเหมาะกับคนที่ต้องการจำกัดวงเงินลงทุน ไม่ให้เกินกว่าเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า
และเมื่อซื้อหุ้นมาแล้ว มีหุ้นอยู่ในบัญชี อยากจะขาย ก็ส่งคำสั่งขายได้ จะขายเท่าไรก็ได้ ไม่มีข้อห้าม เพราะมันเป็นหุ้นของเราแล้ว นอกจากนี้ เงินที่ฝากไว้กับโบรกเกอร์ก็จะได้ดอกเบี้ยเหมือนการฝากเงินกับธนาคาร แต่อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์
บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)
บัญชีประเภทนี้จะเป็นการซื้อหุ้นโดยไม่ต้องใช้เงินของเราทั้งหมด เพราะใช้เงินสดของเราส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้ ที่กู้จากโบรกเกอร์ แต่ต้องมีเงินสด หรือหุ้น มาวางเป็น หลักประกันตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนดไว้เสียก่อนถึงจะสามารถซื้อหุ้นได้ แต่เมื่อใช้เงินกู้เขาแล้วก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วย เพราะฉะนั้นการซื้อหุ้นด้วยบัญชีประเภทนี้ จะมี “ต้นทุน” เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ วงเงินกู้ยืมอาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงก็ได้ ตามราคาหุ้นที่นำมาวางเป็นหลักประกัน ซึ่งโบรกเกอร์จะคอยคำนวณมูลค่าของหลักประกันทุกวัน
ในกรณีที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเมื่อไรราคาหุ้นลดลงมากๆ จนมูลค่าหลักประกันต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ โบรกเกอร์จะเรียกให้เราหาหลักประกัน หรือเงินสด มาเพิ่ม แต่ถ้าเราไม่สามารถเพิ่มหลักประกันตามที่โบรกเกอร์บอก ก็อาจจะถูกบังคับให้ขายหุ้นที่มาวางเป็นหลักประกัน หรือเรียกว่า Forced Sell โดยไม่สนใจว่า ตอนนั้นราคาหุ้นจะเป็นเท่าไร เพราะฉะนั้น โบรกเกอร์จะเปิดบัญชีประเภทนี้ให้กับคนที่มีความสามารถในการลงทุน และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดีเท่านั้น นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ซื้อขายได้เฉพาะหุ้น บางตัวเท่านั้น
แน่นอนว่า บัญชีแบบนี้ไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ และ “ว่าที่เจ้าของกิจการ” อย่าง เราๆ เพราะฉะนั้นก็เหลือให้เลือกแค่ 2 แบบ คือ บัญชีเงินสด กับ บัญชีแคชบาลานซ์
เลือกกันได้แล้วหรือยัง... ถ้ายังเลือกไม่ได้ แนะนำให้เริ่มจาก “บัญชีแคชบาลานซ์” จะดีกว่า เพราะใช้เงินทุนเริ่มต้นไม่มาก สามารถเปิด บัญชีได้ง่ายกว่า และดูเหมือนว่า โบรกเกอร์เอง ก็ชอบให้เราเปิดบัญชีแบบนี้ด้วย
ตื่นเต้นๆ จะได้เปิดบัญชีซื้อขายหุ้น แล้ว ซึ่งขั้นตอนในการเปิดบัญชีก็ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นาน แต่เพื่อให้ การเปิดบัญชีเป็นไปอย่างราบรื่น เราต้อง เตรียมเอกสาร ประกอบการเปิดบัญชี ไว้ให้พร้อม
หลังจากนั้น ก็ต้องเขียน “ใบคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์” ซึ่งตอนนี้หลายแห่ง ให้กรอกข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้เลย พอกรอกข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็แค่ส่งเอกสาร ไปทางไปรษณีย์ หรือจะหอบหิ้วเอกสารแล้วไปเขียนใบคำขอเปิดบัญชีที่โบรกเกอร์เลยก็ได้
เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ต้องกลับมานั่งรอ เพราะโบรกเกอร์จะใช้เวลาในการพิจารณา ประมาณ 1-2 สัปดาห์ (แต่ระหว่างนี้ถ้าคันไม้คันมือจะไปทดลองลงทุนด้วยโปรแกรมจำลองการลงทุน ซึ่งโบรกเกอร์หลายแห่ง และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งในสังคมออนไลน์ มีให้ทดสอบฝีมือกันก่อนก็ได้)
เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว เราจะได้รับเลขที่บัญชี หรือ รหัสประจำตัวลูกค้า และรหัสลับ (PIN Code) ที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขาย และติดต่อกับโบรกเกอร์ เพราะฉะนั้นต้องเก็บรหัสเป็นความลับ เพราะถ้ามีผู้ไม่หวังดี นำรหัสไปใช้อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ ที่เหลือก็แค่โอนเงินเข้าบัญชี แล้วเราก็พร้อมแล้วที่จะเป็นเจ้าของกิจการผ่านการลงทุน ในหุ้น หรือจะเรียกเท่ๆ ว่า พร้อมแล้วที่จะเป็น “นักลงทุน”
เราสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นได้ 2 ช่องทางหลัก ส่วนใครจะเลือกแบบไหนก็แล้วแต่ความชอบ และ ความถนัด
ค่าธรรมเนียมการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะเก็บเป็นแบบขั้นบันได ในอัตราตั้งแต่ 0.15 - 0.20% ของมูลค่าซื้อขาย แต่โบรกเกอร์จะกำหนดเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำต่อวันเอาไว้ ด้วย เช่น กำหนดขั้นต่ำไว้วันละ 50 บาท (โบรกเกอร์บางแห่งอาจจะกำหนดไว้ 100 บาท)
แต่ทุกครั้งที่เราซื้อ และ ขายหุ้น ควรจะจดบันทึกรายการซื้อขายเก็บไว้ทุกครั้ง ว่า เราซื้อมาราคาเท่าไร จำนวนกี่หุ้น คิดเป็นมูลค่าเท่าไร และจ่ายค่านายหน้าไปกี่บาท ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่า ต้นทุนที่แท้จริงเป็นเท่าไร และเมื่อตัดสินใจขายก็ต้องบันทึกไว้เช่นกัน และเราจะรู้ว่า เรากำไรหรือขาดทุนเป็นเงินเท่าไร ทั้งยังนำมาใช้ในการวิเคราะห์และติดตามการลงทุนได้อีกด้วย (เหมือนกับการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย)
แต่ “คนทันสมัย” อย่างเรา อาจจะไม่ชอบการจดบันทึกลงในกระดาษ ก็สามารถเข้าไปบันทึกรายการซื้อขายหุ้นผ่านบริการ “พอร์ตลงทุนจำลอง” ได้ใน www.settrade.com ซึ่งยังสามารถดูสัดส่วนการลงทุน และติดตามสถานะการลงทุน เพื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดได้ด้วย
ถ้าจำได้ “แผนธุรกิจที่ดี” จะต้องปรับให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ เพราะเมื่อเวลา ผ่านไปกิจการบางอย่างที่เราคิดว่า “สุดยอด” อาจจะไม่ได้มีอนาคตที่ดีอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ก็อาจจะต้องถึงเวลาปรับแผนกันใหม่
การลงทุนในหุ้นก็เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไปอาจจะมี ผลกระทบในทางลบต่อตัวบริษัท หรือราคาหุ้นอาจจะวิ่งแรงเกินความเป็นจริง จนทำให้ กลายเป็นหุ้นที่ราคาแพงเกินไป
ดังนั้น หลังจากที่เราซื้อหุ้นไปแล้วจะต้อง “ติดตามผล” อย่างสม่ำเสมอ โดยหมั่น ตรวจสอบสถานะการลงทุนว่า ยังคงเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ แต่คงไม่ใช่ ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกันแบบรายวัน เพราะเราไม่ใช่ “นักเก็งกำไร” และ เป้าหมายการลงทุนของเราเป็นการลงทุนระยะยาว
ถ้าพบว่า อะไรๆ เริ่มไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็ต้อง “ปรับพอร์ตการลงทุน” ซึ่งหาก ภาพรวมทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยน เราก็อาจจะเปลี่ยนแค่ตัวบริษัท แต่ถ้าภาพรวมเศรษฐกิจ เปลี่ยนไปจนทำให้อุตสาหกรรมที่เราลงทุนอยู่ได้รับผลกระทบ ก็อาจจะต้องกลับไปเริ่ม ขั้นตอนการวิเคราะห์ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และบริษัทกันอีกครั้ง
เพียงเท่านี้ เราก็มีโอกาสเป็น “เจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จ” โดยไม่ต้อง ออกแรง (มากนัก)