กลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์การยุคใหม่

องค์การในอนาคต
กระบวนโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และการทำธุรกิจอิเลคทรอนิค (E- business) ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์การธุรกิจในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากอดีต และเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกต่างอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งเป็นผลมาจากการก้าวข้ามยุค จากยุคธุรกิจในสังคมอุตสาหกรรมที่เติบโตเต็มที่ (Mature Industrial Social) ไปสู่สังคมอนาคตที่มีการผลิตในปริมาณมาก (Mass product) เพื่อสร้างความได้เปรียบจากความประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อการแข่งขันในโลก ดังนั้นความอยู่รอด ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของธุรกิจในอนาคต สามารถเกิดได้เพียงชั่วพริบตา โดยมีตัวเร่ง (Catalyst) ให้เกิดการบริหารงานในรูปแบบใหม่ ตัวเร่งดังกล่าวได้แก่
1. อำนาจของผู้ซื้อ (Buyer Power) และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี (Technology) ทั้งในด้านการผลิต และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ทำให้องค์การต้องปรับระบบธุรกิจ และกระบวนการให้ทันสมัย
3. การลดจำนวนบุคลากรในองค์การ (Removal Layer of Hierarchy) แต่กลับต้องการความสามารถของบุคลากรและผลิตภาพ(Productivity) ที่สูงขึ้น
4. การให้อำนาจและการมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Empowerment and Delegation of Responsibility) ให้ภาคธุรกิจ ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ตอบสนองความต้องการและความพอใจแก่ลูกค้า
5. การส่งเสริมการเชื่อมโยงตามแนวระนาบ (Create Horizontal Linkages) ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ผ่านการทำงานเป็นทีม เพื่อเพิ่มศักยภาพและยึดหยุ่นแก่ธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ ทำให้องค์การต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้สอดคล้องกับข้อกำหนด /ข้อจำกัดตามสภาวการณ์ มิเช่นนั้นจะถูกคู่แข่งขันและทิ้งให้อยู่ข้างหลัง และต้องเสื่อมสลายไปในที่สุด

ปัจจัยผลักดันองค์การ (Organizational Drivers) ให้ก้าวไปสู่รูปแบบการดำเนินงานและการแข่งขันในอนาคตมีดังนี้
1. การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน(Competitive Advantage) โดยเริ่มที่เชิงกลยุทธ์ (Strategic Initives)
2. การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญต้นทุน(Cost) ความเร็ว(Speed) และคุณภาพ (Quality)
3. การใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. การให้ความสำคัญกับ ทุนมนุษย์ ในการสั่งสม ใช้งานและประเมิน ให้สอดคล้องกับงาน
5. การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการควบคุม ให้โปร่งใส สามารถวัดประเมิน และแก้ปัญหาได้ถูกต้องและทันเหตุการณ์

องค์การในอนาคต(Organizational of the future) ต้องปรับตัวใน 2 มิติ ดังนี้
1. โครงสร้าง (Structure) ซึ่งรูปแบบโครงสร้างที่สำคัญมีดังนี้
1.1 มีลำดับขั้นในการบริหารงานและการบังคับบัญชาลดลง (De-layering) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว
1.2 ลดความเป็นราชการ (Non- bureaucratic) เพื่อลดปัญหาความล่าช้าของระบบ(Red Tape) ลดความซ้ำซ้อน ขั้นตอนการทำงาน และกฎระเบียบลง โดยมีเท่าที่จำเป็นในการตอบสนองและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า
1.3 ไม่ยึดติดกับโครงสร้างแบบสามเหลี่ยมพีระมิด แต่จะมีรูปแบบหลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรพัฒนาศักยภาพ และแสดงความสามารถเต็มที่ รูปแบบที่สำคัญจะแบราบ (Flatter) มีการทำงานเป็นทีมและเชื่อมโยงแบบเครือข่าย
1.4 การจัดองค์การที่เคารพในความเป็นปัจเจกชน โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารสามารถทุ่มเท ศักยภาพในการ นำ แทนการบริหารแบบเดิมๆ และเปิดโอกาสให้ฝ่ายปฏิบัติการสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ ภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์การ
นอกจากนี้องค์การในอนาคต จะให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ และคุณธรรมอย่างมาก ผู้บริหารจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนด และสื่อสาร วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ไปยังส่วนต่างๆ ขององค์การ
การบริหารงานสมัยใหม่
นับตั้งแต่การพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรม (Industrial Society) ที่ก่อให้เกิดการตื่นตัวในการศึกษาเทคนิคการบริหารที่มีประสิทธิภาพในช่วงปลาย สตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการเกิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(Master of Business Administration : MBA) ที่มุ่งสร้างผู้จัดการมืออาชีพ (Professional Manager) ทำให้ความหมายของการจัดการ (Management) และการบริหารงาน(Administration) ค่อนข้างจะคงตัวและได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล
กระบวนการจัดการ : การใช้ทรัพยากรในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผ่านกระบวนการ ที่สำคัญ (Management Functions) 4 ประการ คือ การวางแผน(Planning) การจัดองค์การ (Organization) การนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling)
2. บทบาทของผู้บริหาร
2.1 ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารอาวุโส (Top and Senior Managers) จะต้องปรับตนเองจาก
ผู้จัดการตามหน้าที่ (Functional Managers) เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leaders) “Managers do thing right, leaders do the right things” ผู้จัดการทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง ขณะที่ผู้นำจะทำสิ่งที่ถูก
- กำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ที่มีความชัดเจนเป็นเอกภาพ ชี้ทิศทางขององค์การ
- กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการบรรลุวิสัยทัศน์
2.2 ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) จะต้องเปลี่ยนจากการควบคุมเชิงบริหารที่ปฏิบัติตาม
ขั้นตอน โดยเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับระดับปฏิบัติงาน เป็นผู้บริหารที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ในการแข่งขัน สามารถแสดงออกดังนี้
- ดูดซับและปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์องค์การไปสู่การดำเนินงานเชิงยุทธวิธีของธุรกิจ
- สร้างทีมงานและวัฒนธรรมการทำงานที่ส่งเสริมบรรยากาศในการทำงานเป็นทีม กล้ารับผิดชอบ ตัดสินใจและแก้ปัญหาแบบกลุ่ม
2.3 ผู้บริหารระดับต้น (First-line Managers) จะต้องเปลี่ยนจากการบริหารงานโดยมุ่งผลระยะสั้น และทำงานตามผู้บริหารระดับบนสั่งการ ไปสู่การเป็นผู้ฝึกสอน (Coach) และพี่เลี้ยง (Mentor) สำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ให้คำปรึกษา แนะนำ และสอนแก่พนักงานในการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้เขาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- ให้อำนาจแก่พนักงาน ในการทำงาน การตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2.4 พนักงาน จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง เป็นผู้สร้างสรรผลงาน นวัตกรรมใหม่ผ่านการระดมความคิด การทำงานเป็นทีมดังนี้
- หาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- ทำงานเป็นทีมในการพัฒนากระบวนการ
- ให้ความสำคัญต่อคุณภาพ และต้นทุน
การบริหารองค์การเพื่อความสำเร็จในอนาคต ผู้บริหารต้องดำเนินการเชิงรุกและมีระบบการวิเคราะห์ปัญหา หรือโอกาส อย่างเป็นระบบและสนใจในสิ่งต่อไปนี้
1. กลยุทธ์
2. โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ
3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์