ในเรื่องของโลกใหม่ก็มีกฎแห่งเกมส์แบบใหม่มาแนะนำอยู่ 10 กฎ ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามคำกล่าวที่ว่า “โทรศัพท์เปลี่ยนแปลงการสื่อสารฉันใด เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงการทำสงครามฉันนั้น”
กฎแห่งเกมส์แบบใหม่ มีดังต่อไปนี้
กฎข้อที่ 1 : การไม่ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
ขนาดที่ใหญ่ขึ้นของบริษัท หมายถึงอำนาจที่เพิ่มขึ้นไปด้วย ผู้เล่นรายเล็กอาจได้เปรียบในแง่ของความยืดหยุ่น แต่ความมั่นคง ปลอดภัยจะอยู่ที่บริษัทใหญ่มากกว่า การกระจายอำนาจเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง การที่บริษัทใหญ่มีโครงสร้างแข็งแกร่งและมีพนักงานหลายพันคน แต่บางบริษัท มีพนักงานและพีซีไม่กี่เครื่อง ไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเดือน งบการตลาด หรือสาธารณูปโภคก้อนใหญ่ ก็เจริญได้แม้มีรายได้น้อยกว่า แนวทางการบริหารจัดการแบบคล่องตัวบวกกับเครือข่ายยูสเซอร์แบบกระจายอำนาจ ก็ทำให้องค์กรดำเนินการไปได้
เราได้ก้าวสู่โลกใหม่ที่มีขนาด “เล็ก” คือ ความได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อหลักการ diseconomies of scale หรือการไม่ประหยัดจากขนาด เริ่มแพร่หลาย ต้นทุนของการเข้าสู่ตลาดใหม่จึงลดลงอย่างมาก
กฎข้อที่ 2 : ผลกระทบของเครือข่าย
ผลกระทบของเครือข่าย (network effect) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของคุณค่าหลักของเครือข่ายทุกครั้งที่มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นหนึ่งคน ดังนั้น การมีเครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์ จึงทำให้เครื่องโทรสาร หรือโทรศัพท์เครื่องอื่นมีมูลค่ามากขึ้น คุณค่าของสินค้า หรือบริการบางชนิดไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสินค้า หรือบริการนั้น แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้สินค้า หรือบริการ ซึ่งถ้ามีจำนวนมากขึ้น คุณค่าจะสูงตามไปด้วย
กฎข้อที่ 3 : ข้อดีของความยุ่งเหยิงวุ่นวาย
ในโลกของการกระจายอำนาจ เด็กๆค่อนข้างยินดีปรีดากับความยุ่งเหยิงวุ่นวายทีเดียว ยุ่งไว้แหละดี เพราะภายใต้ความยุ่งเหยิงนี้ๆ ใครๆสามารถทำอะไรได้โดยเสรี ถ้าคิดว่า ความสร้างสรรค์เป็นสิ่วดีมีค่า จงเรียนรู้ที่จะยอมรับมัน ความยุ่งเหยิงวุ่นวายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี
กฎข้อที่ 4 : ความรู้ของผู้ที่อยู่สุดของเครือข่าย
ในองค์กรปลาดาว ความรู้จะกระจายตัวอยู่ทั่วองค์กร จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ดีที่สุดจะอยู่ตรงปลายขอบขององค์กรเสมอ เช่น การกระตุ้นให้คนงานประจำสายพานการผลิตคิดเรื่องนวัตกรรมและรู้จักให้คำแนะนำอยู่เสมอ เพราะพวกเขาจะรู้เรื่องสายการผลิตดีกว่าคนอื่น
กฎข้อที่ 5 : ใครๆ ก็อยากมีส่วนช่วยเหลือ
คนที่อยู่ในองค์กรปลาดาวไม่เพียงแต่มีความรู้ดีเท่านั้น แต่ยังปรารถนาที่จะแบ่งปันและทำประโยชน์ต่อชุมชนด้วย เพราะมันตั้งอยู่บนหลักเศรษฐกิจของการให้ เพื่อให้ชุมชนได้ชื่นชมและมีความสุขร่วมกัน ตัวอย่างเช่น Wikipedia ที่รวมกลุ่มกันเพื่อนำเข้ามูลมาใส่ไว้ในเว็ปไซต์เพื่อที่ผู้ที่สนใจจะทำการศึกษาได้เข้ามาหาข้อมูลเป็นองค์กรที่ไม่ได้หวังผลกำไรอะไรมากมาย แต่พวกเข้าทำเพื่อคนทั่วโลก
กฎข้อที่ 6 : พึงระวังการตอบโต้ของ Hydra
องค์กรกระจายอำนาจเป็นที่ ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากช่วยเหลือ จึงก่อให้เกิดความรู้สึกสนิทชิดเชื้อและเปิดเผย แต่พอลองทำตัวเป็นองค์กรปลาดาวเข้าจริงๆ อาจมีอะไรให้คุณประหลาดใจได้เหมือนกัน การตัดแขนขาปลาดาวก็เหมือนกัน ตัดได้มันก็งอกใหม่ขึ้นเป็นตัวใหม่ได้ ที่จริงยังพอมีวิธีต่อสู้กับองค์กรกระจายอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่อย่าคิดตัดหัวมันเลย
กฎข้อที่ 7 : พวก catalyst เล่นบทนำ
บทบาทตัวเร่งปฏิกิริยา catalyst พวกนี้จะคอยแนะนำว่า ควรดำเนินการอย่างไรหลังจากนั้นจึงปล่อยให้สมาชิกจัดการกันต่อไป แม้จะไม่ใช้ซีอีโอ แต่พวก catalyst ก็มีความสำคัญต่อองค์กรกระจายอำนาจอย่างมาก ไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็นคนอำนวยการแสดงแต่เป็นเพราะพวกเขาสามารถจุดประกายให้คนลงมือทำสิ่งต่างๆ
กฎข้อที่ 8 : คุณค่าหลักอยู่ที่ตัวองค์กร
อุดมการณ์ คือ เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนองค์กรกระจายอำนาจ กลุ่มคนบางกลุ่มไม่ได้จ่างเงินจ้าง สตาฟฟ์ หรือมีโครงสร้างเป็นเรื่องราว แต่สิ่งที่เป็นแก่นของอุดมการณ์ คือ ถ้าคุณดึงอุดมการณ์ออกไป รับรองว่าองค์กรปลาดาวล้มครืนแน่ แต่ที่องค์กรปลาดาวประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการมีอุดมการณ์หัวรุนแรง มีความเชื่อว่าทาสเป็นสิ่งที่ควรยกเลิกได้แล้ว เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถไว้ใจได้ เช่น ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรังไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฟื้นฟูแต่พวกเขาช่วยเหลือกันเองได้
กฎข้อที่ 9 : วัดประเมิน ติดตาม และจัดการ
การที่องค์กรปลาดาวมักมีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจนและยุ่งเหยิง ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถวัดประเมินมัน แต่ในการวัดประเมินผลเครือข่ายกระจายอำนาจไม่จำเป็นต้องวัดได้อย่างถูกต้องเป๊ะเสมอไป ถึงจะทำได้มันก็ไม่สำคัญหรอ เราสามารถนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายทั้งหมดหรือไม่ สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การพิจารณาว่า เครือข่ายนั้นๆมีความกระตือรือร้นแค่ไหน ? การกระจายตัวของเครือข่ายเป็นอย่างไร? เครือข่ายที่ว่านี้เป็นอิสระไหม? แล้วความสัมพันธ์ข้างในเป็นอย่างไร? โดยมี catalyst เป็นคนคอยเชื่อมโยงคนเข้าหากัน และใช้อุดมการณ์เป็นแรงกระตุ้นพวกเขาอย่างสม่ำเสมอและสุดความสามารถ
กฎข้อที่ 10 : ใช้โครงสร้างแบบแบนราบ
วิธีการ คือ ทำการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของสมาชิก หรือทำให้องค์กรมีลักษณะรวบอำนาจมากขึ้น แต่ถ้าหวังความอยู่รอด โดยเฉพาะทำอย่างไรก็ไม่สามารถตีแตกเสียที ก็ให้เป็นพวกเดียวกับพวกเขาเสียเลย จริงอยู่ องค์กรกระจายอำนาจอาจดูวุ่นวายไร้ระเบียบในแวบแรกที่มอง แต่หลังจากได้เห็นศักยภาพของมันแล้ว สิ่งที่ดูสับสนวุ่นวายกลับกลายเป็นสิ่งที่มีพลังนุภาพที่สุดเท่าที่เคยประสบมาในโลกนี้