กุญแจสู่ความสำเร็จที่จะนำไปสู่ความสำเร็จนั้น เราก็จะมาทราบถึงความสำเร็จที่เป็นกุญแจแล้วเราทุกคนจะต้องไขไปเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อพิจารณาให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ เพราะเป็นด่านแรกที่จะต้องก้าวต่อไปเพื่อเอาชนะตัวเอง เอาชนะเวลาในแต่ละวันของตนเอง และจงใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่ามากที่สุด เพราะถ้าเราไม่ตั้งใจทำงานต่างๆให้ทันต่อเวลา ก็ยิ่งทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นอย่างมากที่สุด ดังนั้น เวลาในทุกๆวินาที ทุกๆนาที เป็นสิ่งที่มีค่าอยู่เสมอ จึงควรคิดให้ดีก่อนในการตัดสินใจทำงานอะไรต่างๆ ก็จะส่งผลให้เป็นประตูสู่ความสำเร็จต่อไปในอนาคตได้
แนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในทั้ง 2 ส่วน นั่นคือ ทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factor Theory) เป็นทฤษฎีที่ Frederick K. Herzberg ได้ศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เขาได้ศึกษาถึงความต้องการของคนในองค์การ หรือการจูงใจจากการทำงาน โดยเฉพาะเจาะจง โดยศึกษาว่าคนเราต้องการอะไรจากงาน คำตอบก็คือ บุคคลต้องการความสุขจากการทำงาน มีสาเหตุปัจจัยสองกลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) และปัจจัยค้ำจุน (Maintenance or Hygiene Factors)
1) ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้
คนชอบและรักงานที่ปฏิบัติ เป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์การให้ปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.1 ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล (Achievement) หมายถึงการที่บุคคล
สามารถทำงานได้เสร็จสิ้น และประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงานนั้น ๆ
1.2 การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือ จากบุคคลในหน่วยงาน การยอมรับนี้อาจจะอยู่ในรูปของการยกย่องชมเชย แสดงความยินดี การให้กำลังใจ หรือการแสดงออกอื่นใดที่ก่อให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ เมื่อได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดบรรลุผลสำเร็จ การยอมรับนับถือจะแฝงอยู่กับความสำเร็จในงานด้วย
1.3 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (The Work Itself) หมายถึงงานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะสามารถกระทำได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังแต่ผู้เดียว
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมาย ให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการตรวจ หรือควบคุมอย่าง ใกล้ชิด
1.5 ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคคลในองค์การ การมีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่ม หรือได้รับการฝึกอบรม
2) ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจ ในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคลในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น และเป็นปัจจัยที่มาจากภายนอกตัวบุคคล
2.1 เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น ๆ เป็นที่พอใจของบุคลากรที่ทำงาน
2.2 โอกาสได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth) หมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับ ความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพด้วย
2.3 ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
(Interpersonal Relation Superior, Subordinate and Peers) หมายถึง การติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นกิริยาหรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
2.4 สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี
2.5 นโยบายและการบริการ (Company Policy and Administration) หมายถึงการจัดการและการบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ
2.6 สภาพการทำงาน (Working Conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
2.7 ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal life) ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ ซึ่งห่างไกลจากครอบครัว ทำให้ไม่มีความสุข และไม่พอใจกับการทำงานในที่แห่งใหม่
2.8 ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพ หรือความมั่นคงขององค์การ
2.9 วิธีการปกครองบังคับบัญชา (Supervision-Technical) หมายถึง ความสามารถของผู้บังคับบัญชาในการทำงาน หรือความยุติธรรมในการบริหาร
จากทฤษฎีสองปัจจัย สรุปได้ว่า ปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ เป็นสิ่งที่คนต้องการ เพราะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยจูงใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำให้คนเกิดความสุขในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กับกรอบแนวคิด ซึ่งจะทำให้ประสบแก่ความสำเร็จได้ในอนาคต
ส่วนที่ 3 ก็จะแบ่งออกทั้งหมดเป็น 3 ตอนได้ดังนี้
ตอนที่ 1 ฝัน (ทุกวัน)
หาจินตนาการให้พบ กล่าวคือ ในเรื่องนี้จะพูดถึง วอลต์ ดีสนีย์ ผู้ซึ่งสร้างหนังการ์ตูนเสียงได้เป็นคนแรก โดยในขณะนั้นเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการที่จะทำสิ่งที่ตนเองฝัน สิ่งที่ตนเองคิดให้เป็นจริง เพราะวอลต์ ดีสนีย์ เป็นคนที่ไม่ย่อท้อต่อการทำงานให้สำเร็จ และงานชิ้นนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้เขาได้มีชื่อเสียง เป็นงานชิ้นที่เขาประทับใจมากที่สุดจากจินตนาการที่เข้านั้นค้นพบและได้ทำให้เป็นจริง เป็นความพยายามที่เป็นการเริ่มต้นที่ดีจนทำให้สำเร็จได้อย่างดีเยี่ยม และในความฝันนั้นก็ทำให้เขาผู้นี้ได้สร้างความฝันนั้นใหเป็นจริงได้ ดังนั้น สำหรับวอลต์ ดีสนีย์แล้ว จินตนาการไม่มีวันปัญหาสำหรับเขาเสมอ คนเราทุกคนก็จึงควรจะใช้พรสวรรค์ที่เรามีอยู่ผลักดันมันออกมา และสร้างสิ่งที่ตนเองปรารถนาให้ได้มากที่สุดและดีที่สุด
ประตูสู่โอกาส คือ คำว่า “โอกาส” นั้นมีความสัมพันธ์กันกับแรงจูงใจ เพราะถ้าไม่มีผู้ใดมีแรงจูงใจก็จะมองไม่เห็นโอกาสที่เกิดขึ้นในเบื้องหน้าต่อไป เพราะโอกาสเป็นสิ่งที่คนทุกคนต้องการอยู่ในทุกๆวัย อยู่แล้ว เช่น วัยเรียนก็อยากมีโอกาสที่จะได้เรียนในระดับชั้นสูงๆ วัยทำงานก็อยากมีโอกาสที่จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในอาชีพการงานนั้นในระดับที่สูงที่สุด ดังนั้น โอกาสที่ดีที่สุดก็คือโอกาสที่มีอยู่ทุกๆวัน แต่คนเรานั้นจะมองเห็นมันหรือเปล่าเท่านั้น แต่ถ้าเมื่อโอกาสเข้ามาหาเราแล้วเราก็ควรที่จะเปิดใจและรับมันเพื่อนำมาพิจารณาถึงโอกาสที่เราได้มา เพราะฉะนั้น เมื่อประตูโอกาสที่เปิดรอเราอยู่แล้วเราก็ควรก้าวเข้าไปเพื่อเผชิญหน้ากับมันอย่างจริงจัง เพราะในทุกๆวันย่อมเป็นโอกาสอันดีที่สุดของเราเสมอ
ฝึกฝนเพื่อความสำเร็จ คือ เราควรมุ่งมั่นต่อสิ่งที่เรากำลังทำอยู่สม่ำเสมอแต่เราก็
ควรที่จะเตรียมตัว และฝึกฝนสิ่งนั้นๆ เพื่อให้ได้มาคือความสำเร็จในทุกๆงานที่ทำ ทุกๆโอกาสที่เราได้รับ โดยเราก็จะต้องฝึกฝนอบรมในด้านต่างๆ เช่น ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และทางด้านร่างกาย เราก็จำเป็นจะต้องพัฒนาและฝึกฝนให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และดีที่สุด เพราะฉะนั้น เราก็มีวิธีต่างๆ คือ เราควรฟิตซ้อมร่างกายอยู่เสมอๆ ทำจิตใจให้ดีอยู่ตลอดเวลา ต้องเปิดรับความคิดเห็นจากบุคคลอื่น และสุดท้ายควรผ่อนคลายพักผ่อนจิตใจอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความสำเร็จนั้นที่เราต้องการ
แนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทฤษฎี
วิวัฒนาการ (Evolutionary theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์
และแนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอีกทฤษฎี คือ ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์ McClelland ทฤษฎีนี้จะเน้นอธิบายการจูงใจของบุคคลที่กระทำการ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการความสำเร็จมิได้หวังรางวัลตอบแทนจากการกระทำของเขา ซึ่งความต้องการความสำเร็จนี้ ในแง่ของการทำงานหมายถึงความต้องการที่จะทำงานให้ดีที่สุดและทำให้สำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อตนทำอะไรสำเร็จได้ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานอื่นสำเร็จต่อไป เพราะโดยต่อไปในปัจจุบันนั้นจนไปถึงอนาคตคนเราทุกคนก็ย่อมประสบผลสำเร็จกันอย่างทั่วไปในสังคมต่างๆ ที่ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันได้ เป็นต้น
ตอนที่ 2 ยืนหยัด (ทุกๆวัน)
มองหาไอเดีย ก็คือ โทมัส เอดิสัน เขาเป็นบุรุษแห่งสหัสวรรษ ซึ่งเขาได้ประดิษฐ์
สิ่งต่างๆมากมายถึง 1,903 ชิ้น ถือสิทธิบัตรมากกว่าผู้ใดในโลกมาเป็นระยะเวลา 65 ปี ซึ่งผู้อื่นนั้นมองว่าตัวเขามีความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์ แต่ในตัวเขากลับมองว่ามาจากการที่เขาทำงานหนักมากขึ้นในทุกๆวัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาได้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ เอดิสันได้กล่าวไว้ว่า “ที่ผู้คนมากมายต้องล้มเหลวก็เพราะไม่รู้ว่าตอที่ยอมแพ้นั้น เขาได้เข้าไปใกล้ความสำเร็จเพียงใดแล้ว” นี่แหละถือเป็นทัศนะในทางบวกของเอดิสัน ดังนั้น ในการที่เรามองในแง่ดีจนมากเกินไป เราก็อาจจะไม่พบกับความสำเร็จที่แท้จริงก็เป็นได้ แต่เราควรมองไปถึงชีวิตของผู้คนที่ทำงานในสายอาชีพต่างๆ ที่คนๆนั้นประสบความสำเร็จ
ชนะศึกรายวัน คือ ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้และสามารถพิชิตสิ่งนั้นๆ ได้ มี 4
ประการดังนี้ 1)ความเกียจคร้าน คือ เราไม่ควรปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ควรที่จะเอาชนะความเกียจคร้านนี้ในทุกๆวัน 2) ผลัดวันประกันพรุ่ง คือ เมื่อได้งานทำหรือมีโอกาสที่จะได้ทำงานนั้นๆ ก็ไม่ควรที่จะเก็บเอาไว้ก่อน ควรที่จะเริ่มต้นทำได้เลย แต่ถ้าเมื่อเราเลื่อนงานนั้นๆไปในวันต่อๆไป งานนั้นก็จะไม่มีคุณภาพและจะไม่เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 3) วอกแวก คือ อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าไปเสียเวลาไปกับสิ่งเล็กๆน้อยๆ เพราะเวลาทุกนาทีนั้นก็ย่อมมีค่าอยู่เสมอต่อชีวิตของเรา 4) ใจร้อน คือ ไม่มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน เพราะไม่มีการตรวจสอบก่อนในการทำงานนั้นๆ จึงทำให้ใช้เวลาไปอย่างผิดๆ ขาดการเตรียมการในสิ่งต่างๆ ดังนั้น ศึกรายวันที่เข้ามาในชีวิตของคนเรานั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรเอาชนะให้ได้เพื่อให้ได้มาสู่ความสำเร็จ
แผน 8 “P” เพื่อความสำเร็จ คือ Plan Purposefully เป็นการวางแผนอย่างมี
จุดหมาย Prepare Prayerfully เป็นการตระเตรียมอย่างจริงจัง Proceed Positively ลงมืออย่างมั่นใจ และPursue Persistently ตามติดอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งนี้ เป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญเพื่อที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
แนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom ทฤษฎีความคาดหวังถูกนำเสนอโดย Victor Vroom (1964) ได้เสนอรูปแบบของความคาดหวังในการทำงานซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในการอธิบายกระบวนการจูงใจของมนุษย์ มีความเห็นว่าการที่จะจูงใจให้พนักงานทำงานเพิ่มขึ้นนั้นจะต้องเข้าใจกระบวนการทางความคิดและการรับรู้ของบุคคลก่อน โดยทฤษฎีนี้จะเน้นเรื่องของการจ่ายและ การให้รางวัลตอบแทนเน้นในเรื่องพฤติกรรมที่คาดหวังเอาไว้ต่อเรื่องผลงาน ผลรางวัลและผลลัพธ์ของความพึงพอใจต่อเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดระดับของความพยายามของพนักงาน Vroom ได้เสนอรูปแบบของความคาดหวังในการทำงานเรียกว่า VIE Theory ได้แก่
V=Valance หมายถึงระดับความรุนแรงของความต้องการของบุคคลในเป้าหมาย
รางวัลคือคุณค่าหรือความสำคัญของรางวัลที่บุคคลให้กับรางวัลนั้น
I = Instrumentality หมายถึงความเป็นเครื่องมือของผลลัพธ์ (Outcomes) หรือ
รางวัลระดับที่ 1 ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ 2 หรือรางวัลอีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นการรับรู้ในความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่ได้ (เชื่อมโยงรางวัลกับผลงาน)
E= Expectancy ได้แก่ ความคาดหวังถึงความเป็นไปได้ของการได้ซึ่งผลลัพธ์หรือ
รางวัลที่ต้องการเมื่อแสดงพฤติกรรมบางอย่าง (การเชื่อมโยงระหว่างผลงานกับความพยายาม)
ตอนที่ 3 เติบโต (ทุกๆวัน)
ความสำเร็จที่แท้จริง(Real Success) กล่าวคือ ในความต้องการของคนเรานั้นก็ย่อม
อยากได้มาเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็มีอยู่ 4 อย่างคือคำว่า REAL ได้แก่
1) Relationship ความสัมพันธ์ : เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนักเพื่อความสำเร็จ คือจะต้องเข้ากับบุคคลอื่นได้ แต่ความสัมพันธ์นั้นอาจจะสร้างตัวเราเองหรืออาจจะทำลายตัวเราเองก็เป็นได้ เช่นกัน
2) Equipping การตระเตรียม : ผู้คนรอบตัวเราจะเป็นผู้ที่ตัดสินระดับความสำเร็จของเรา ถ้าเราทำความฝันนั้นให้ยิ่งใหญ่ และก็จะไปถึงความฝันนั้นได้ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยทีมงานนั้นๆด้วยเช่นกัน
3) Attitude ทัศนคติ : เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า บุคคลผู้นั้นจะจัดการกับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองอย่างไรในหนึ่งๆวัน ดังนั้น ทัศนคติจะเป็นตัวที่จะตัดสินระดับความสำเร็จของเราได้ดีมากกว่าความสามารถของเรา
4) Leadership ความเป็นผู้นำ : คนเราต้องเพิ่มขีดความสามารถของตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีความเป็นผู้นำตนเองก่อนที่จะไปนำผู้อื่น จะดีขึ้นหรือแย่ลงก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเราเอง เพื่อสิ่งที่จะตามมาคือความสำเร็จในอนาคต
แนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ภาวะผู้นำตามแนวทฤษฎีทางสู่เป้าหมาย (Path-Goal Theory of Leadership) ดังนั้นเลือกที่จะหยิบในด้านนี้มาอธิบายให้ทราบอย่างเข้าใจ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (Achievement-Oriented) คือ ผู้นำที่มุ่งความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ โดยจะตั้งเป้าหมายงานที่ท้าทาย พยายามปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีที่สุด เน้นผลงานที่สูงกว่ามาตรฐานและให้ความมั่นใจว่า ลูกน้องต้องปฏิบัติงานได้สูงกว่ามาตรฐานทฤษฎีนำมาพิจารณาว่า มีส่วนในการทำให้พฤติกรรมของผู้นำหรือภาวะผู้นำมีผลต่อความพึงพอใจและการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ ลักษณะของงานและสิ่งแวดล้อม (Characteristics of Task and Environment) ได้แก่ ลักษณะของงานและสิ่งแวดล้อมของงาน เช่นงานท้าทาย น่าสนใจมีคุณค่าหรืองานที่คลุมเครือ สับสน ยุ่งยาก น่าเบื่อ อันตราย และเพิ่มความเครียด รวมทั้งระบบอำนาจ หน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนทำงาน
เวลาในมือคุณ คือ เราควรให้เวลากับตัวเราให้มากขึ้น เนื่องจากว่าในปัจจุบันเราอาจจะคิดว่าเวลานั้นย่อมรอคอยเราอยู่เสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันช่างผ่านไปเร็วกว่าที่คิดยิ่งนัก ซึ่งเวลา 5 นาที 10 นาที ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีค่าเสมอ ดังนั้น ถ้าเราสามารถเข้าใจในเวลาหนึ่งๆวันนั้นได้ ก็ทำให้ได้มาซึ่งความสำเร็จนั้นอย่างสม่ำเสมอ เราก็ควรรักษาเวลาที่มีค่านี้ให้มีค่าในตัวเรามากที่สุด แล้วความสำเร็จนั้นก็จะได้มาอย่างง่ายดาย
3 “C” ของการเติบโต คือ จะเป็นตัววัดถึงความเติบโตของตัวเราเอง ได้แก่
1) Choice การเลือก : จะเป็นสิ่งแรกที่จะ เริ่มต้น ในการเติบโตไปในชีวิตการทำงานต่างๆ ของเราเอง
2) Change การเปลี่ยนแปลง : จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรา คงอยู่ กับความเติบโตในงานนั้นๆ ต่อไปในอนาคต
3) Climate บรรยากาศ : เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ สนุกสนาน กับการเติบโตนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร สามารถทำอย่างไรให้เราได้เรียนรู้ในสังคมนั้นๆ เป็นต้น
หยุด มอง และฟัง คือ เป็นการหยุดมองในสิ่งต่างๆที่ตนเองกำลังทำอยู่ว่าเป็นอย่างไร และทำไมต้องทำในทุกๆวัน แล้วในวันหนึ่งๆ นั้น คุณได้ทราบหรือได้รู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอย่างไรได้บ้าง เพื่อเป็นการไตร่ตรอง เป็นการพิจารณาว่าความสำเร็จนั้นไม่ได้มาจากสิ่งๆเดียว คืออาจจะมาจากหน้าที่การทำงานจนลืมหยุด มองดูตนเองไป และอาจจะได้รับฟังในสิ่งที่ผิดๆมา จึงทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยากลำบาก เพราะฉะนั้น ความสำเร็จที่จะได้มาก็ย่อมมีอุปสรรคต่างๆอยู่เช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องฝ่าฟันไปให้จงได้ และต้องไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่เราได้กำหนดไว้เอง เป็นต้น
แนวคิดทฤษฎีที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา ชื่อ มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
1) ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
2) ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (Security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3) ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) (Affiliation or Acceptance needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4) ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือและสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5) ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self- actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น