สินเชื่อและการจัดการสินเชื่อ

สินเชื่อ (Credit) = Trust , Believes ความหมายของสินเชื่อ เป็นความเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายในการที่จะให้สินค้าหรือบริการไปใช้ก่อน โดยมีสัญญากำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาการชำระคืนในอนาคต สินเชื่อจะให้ความสำคัญและคำนึงถึงในเรื่องของสภาพคล่องเป็นอย่างมาก สภาพคล่อง หมายถึงสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว มีเงินหมุนเวียนในกิจการอย่างไม่ขาดมือ เพียงพอที่จะจับจ่ายใช้สอยประจำวัน และมีเงินพอที่จะจ่ายให้กับเจ้าหนี้ทันทีทันใด

สาระสำคัญของสินเชื่อ

เป็นความเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ในการที่จะให้สินค้าหรือบริการไปใช้ก่อนโดยมีสัญญากำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาการชำระคืนในอนาคต

สินเชื่อประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้คือ

  • ความเชื่อ Trust
  • การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ Economic Exchange
  • ความเสี่ยง Risk
  • เวลาในอนาคต Futurity

เราอาจกล่าวถึงสินเชื่อในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้คือ

ทางด้านการค้า : สินเชื่อ หมายถึง ความเชื่อถือที่ผู้ขายมีต่อผู้ซื้อ และยอมมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อไปก่อนโดยยังไม่ต้องชำระเป็นเงินสด แต่มีสัญญาการชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้นในวันข้างหน้าตามการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งก่อให้เกิดภาวะความเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามมา

ทางด้านผู้บริโภค : สินเชื่อ หมายถึง ความสามารถที่จะได้สินค้าหรือบริการไปใช้ก่อน โดยตกลงว่าจะนำเงินมาชำระค่าสินค้าหรือบริการในภายหน้า
ทางด้านสถาบันการเงิน : สินเชื่อ หมายถึง บริการชนิดหนึ่งของสถาบันการเงินที่ก่อให้เกิดรายได้หลักแก่สถาบันการเงิน คือดอกเบี้ยรับจากการให้สินเชื่อและค่าธรรมเนียมต่างๆ

 

กระบวนการทางด้านสินเชื่อ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้คือ

1. Credit Transaction การเกิดรายการสินเชื่อ
2. Credit Standing สถานะทางสินเชื่อ
3. Credit Instruments การใช้เครื่องมือประกอบการด้านสินเชื่อ

กระบวนการเกิดสินเชื่อ (Credit Transaction)


กระบวนการเกิดสินเชื่อเริ่มต้นเมื่อผู้ขาย (ผู้ให้สินเชื่อ) จัดหาสินค้า, บริการ, เงินทุนให้กับผู้ซื้อ (ผู้ขอสินเชื่อ) และผู้ซื้อ (ผู้ขอสินเชื่อ) จะต้องจัดหาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้า หรือบริการที่ได้รับมาจากผู้ขาย (ผู้ให้สินเชื่อ) ซึ่งอาจเสนอเงินสด (Money) หรือสินเชื่อ (Credit) ก็ได้ ซึ่งถ้าหากสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด กระบวนการซื้อขายสินค้าหรือบริการก็จะเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ถ้าใช้ สินเชื่อในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ ผู้ซื้อ (ผู้ขอสินเชื่อ) ก็ต้องสัญญาว่าจะชำระค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวในอนาคตข้างหน้าตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งการเกิดสินเชื่อขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ขาย (ผู้ให้สินเชื่อ) ว่าข้อตกลงตามสัญญาของผู้ซื้อ (ผู้ขอสินเชื่อ) มีมูลค่าเป็นตัวเงินและยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้
เมื่อเกิดสินเชื่อขึ้นแล้ว จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฝ่าย คือ ผู้ขายที่อาจจะเรียกได้ว่า ผู้ให้สินเชื่อ (Creditor) และผู้ซื้อ ที่อาจเรียกได้ว่า ผู้ขอสินเชื่อ (Debtor) เมื่อผู้ขอสินเชื่อ ได้รับสินเชื่อที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ให้สินเชื่อเรียบร้อยแล้ว ผู้ขอสินเชื่อก็ต้องแสดงความสามารถในการจ่ายชำระเงินคืนให้กับผู้ให้สินเชื่อในอนาคตตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งความสามารถในการชำระหนี้จะขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ และความตั้งใจที่จะชำระหนี้ให้กับผู้ให้สินเชื่อ

บทบาทของสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน : สินเชื่อมีหน้าที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้คือ
1. Intermediation Function เป็นแหล่งกลางในการระดมเงินฝากจากผู้ที่มีเงินเหลือไปให้กับผู้ที่มีความต้องการใช้เงิน

 

 2. Risk Minimization Function เป็นการลดความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืนอันอาจจะเกิดขึ้นได้ โดยผ่านกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ
3. Provide Liquidity Function เป็นการจัดหาตลาดหรือสภาพคล่องให้กับธุรกิจในกรณีที่ผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากหรือกรณีที่มีเงินทุนไม่เพียงพอ

 ต่อไปนี้เป็นแผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบการดำเนินธุรกิจการผลิตและการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงิน

คำอธิบายเพื่อแสดงการเปรียบเทียบส่วนประกอบของธุรกิจผลิตสินค้าและธุรกิจสถาบันการเงิน

ธุรกิจผลิตสินค้า ธุรกิจสถาบันการเงิน
ผู้ประกอบการ : สถาบันการเงิน
วัตถุดิบ : เงินออม
แรงงาน : เจ้าหน้าที่
ค่าใช้จ่ายโรงงาน : ค่าใช้จ่ายในการระดมทุน
ที่ดิน : อาคาร สำนักงาน
สินค้า : บริการด้านสินเชื่อ
การขาย : การพิจารณาให้สินเชื่อ
รายได้ : ดอกเบี้ยรับและค่าธรรมเนียม
รายจ่าย : ดอกเบี้ยจ่าย

คำอธิบายแผนภูมิแสดงการหมุนเวียนและการใช้เงินในธุรกิจ

    จัดเป็นแหล่งที่มาของเงินทุน

  • ขายสินค้าเป็นเงินสด
  • เก็บเงินจากลูกหนี้
  • กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้
  • เพิ่มทุนหุ้นสามัญ
  • ขายสินทรัพย์ถาวรที่ไม่จำเป็น
  • จัดเป็นแหล่งใช้ไปของเงินทุน

  • ซื้อสินค้าเป็นเงินสด
  • ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
  • จ่ายเงินสดเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน
  • ชำระหนี้เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยจ่าย
  • ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติมเป็นเงินสด
  • จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด

บทบาทของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ
สินเชื่อเข้ามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในวงจรชีวิตปัจจุบันของคนเราทุกคน ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้และความสามารถของผู้ขอสินเชื่อที่จะชำระคืนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ (ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่เกิดขึ้น) สินเชื่อเป็นเสมือนน้ำมันหล่อเลี้ยงให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
1. ทางด้านผู้บริโภค
ผู้บริโภคสามารถนำรายได้ในอนาคตมาชำระค่าสินค้าหรือบริการในปัจจุบันนี้ เป็นการยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้นตามความสามารถในการหารายได้ในอนาคต หรืออาจจะนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือเหตุการณ์อันสุดวิสัย เช่น เจ็บป่วย การศึกษา เป็นต้น กล่าวได้ว่า
สินเชื่อมีความสะดวกสบายในการนำไปใช้ โดยไม่จำเป็นต้องพกพาเงินสดจำนวนมากติดตัวไปด้วย ที่เรียกว่า เครดิตการ์ด (Credit Card)
2. ทางด้านธุรกิจ
นักธุรกิจมักใช้สินเชื่อเพื่อขยายตลาดการค้าและค้นหาลูกค้าของธุรกิจ ถ้าธุรกิจใดยอมให้ใช้สินเชื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ซื้อของธุรกิจนั้นๆ มากขึ้น หรือบางครั้งก็เกิดจากการที่ลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการแต่ขาดแคลนเงินสดในขณะนั้นเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ หรืออาจะเป็นเพราะลูกค้าต้องการใช้สินเชื่อเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการมากกว่า ดังนั้น หากธุรกิจใดต้องการอยู่รอด ก็จะเป็นต้องยอมรับสินเชื่อเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการที่ธุรกิจขาดแคลนเงินทุนในการจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบก็อาจจำเป็นต้องขอสินเชื่อเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป การดำเนินธุรกิจทั่วๆ ไป จำเป็นต้องใช้เงินทุนเป็นจำนวนมากในการเริ่มธุรกิจ ดำเนินธุรกิจและขยายธุรกิจให้ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโรงงาน คนงาน พนักงาน หรือแม้กระทั่งการสำรวจตลาด เป็นต้น
3. ทางด้านเศรษฐศาสตร์
สินเชื่อช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะการว่างงาน ความล้มเหลวทางธุรกิจ หรือเป็นกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วอันนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยรัฐบาลพยายามจะช่วยรักษาความแตกต่างนี้ด้วยนโยบายการเงินและการคลัง นั่นคือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเงินมากขึ้น โดยใช้สินเชื่อกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัว ในขณะที่ถ้าเป็นภาวะเศรษฐกิจขยายตัว รัฐบาลจะเข้ามาช่วยลดการใช้จ่ายเงิน เพื่อลดภาวะการเกิดเงินเฟ้อ

ทางด้านเศรษฐศาสตร์
1. เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ
2. จัดหาเงินทุนให้พอเพียงกับจุดประสงค์ของธุรกิจ
ทางด้านธุรกิจ

  • เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการค้า
  • ช่วยให้มีโอกาสทำธุรกิจโดยอาศัยทุนของผู้อื่น
  • ช่วยให้สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทุนให้เข้ากับความจำเป็นที่เปลี่ยนไปของธุรกิจ

ทางด้านสังคม

1. ทำให้เกิดความอิสระทางด้านความคิดและการกระทำโดยสนับสนุนให้เอาเงินไปลงทุนในสถาบันที่มีประโยชน์ต่อสังคม

ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินเชื่อ
1. ความเสี่ยง (Risk) จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถชำระเงินคืนให้กับผู้ให้สินเชื่อ
2. เวลา (Time) ผู้ให้สินเชื่อต้องรอคอยเวลาในการได้รับชำระเงินสดจากผู้ขอสินเชื่อ
3. หลักประกัน (Security or Collateral) ผู้ให้สินเชื่ออาจจะต้องการหลักประกันในการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการที่อาจจะไม่ได้รับเงินคืนจากผู้ขอสินเชื่อ
4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Extra Expense) ผู้ให้สินเชื่ออาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมหลังจากที่ให้สินเชื่อกับผู้ขอสินเชื่อไปแล้ว เช่น ค่าจ้างพนักงานสินเชื่อ หรือค่าเอกสาร ล้วนแล้วแต่เป็น
ต้นทุนในการให้สินเชื่อทั้งสิ้น
5. กฎข้อบังคับทางกฎหมาย กระบวนการเกิดสินเชื่อจะมีผลผูกพันทางกฎหมายทั้งในด้านเจ้าหนี้และลูกหนี้
6. เงินเฟ้อ จะมีผลเกิดขึ้นในกรณีที่ระยะเวลาในการชำระคืนยาวนานและมีภาวะ
เงินเฟ้อเกิดขึ้น ผู้ให้สินเชื่อจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบเมื่อค่าของเงินลดลงต่ำกว่าตอนที่ผู้ขอสินเชื่อ
สินค้าหรือบริการไปใช้
7. ค่าธรรมเนียมทางการเงิน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ให้สินเชื่อเป็นผู้กำหนด หรือเป็นการตกลงร่วมกัน

สินเชื่อ (Credit)

เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อช่วยให้กระบวนการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นโดยทำให้ค่าของเงินเปลี่ยนมือจากผู้ให้สินเชื่อ มายังผู้ขอสินเชื่อ เมื่อระยะเวลาได้ผ่านไปตามข้อตกลงระหว่างกันแล้ว ผู้ขอสินเชื่อก็จะชำระเงินให้กับผู้ให้สินเชื่อกลับคืนไป
ข้อดีและประโยชน์ของสินเชื่อ

  • บำบัดความต้องการของมนุษย์
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจ
  • ส่งเสริมศีลธรรม

ข้อเสียของสินเชื่อ

  • ใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง
  • เกิดภาวะเงินเฟ้อ
  • ลงทุนผิดประเภท

หลักการจัดการสินเชื่อ

  • Planning การวางแผน
  • Organizing การจัดสายงาน
  • Actuating การปฏิบัติการด้านสินเชื่อ
  • Controlling การควบคุม
หลักการจัดการสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ

แนวทางในการจัดการสินเชื่อ

  • หลักการจัดการสินเชื่อ POAC
  • มีเป้าหมายและนโยบายที่แน่ชัด
  • ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  • ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์
  • มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ