ก. วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ
ข. ระยะเวลาของการชำระคืน
ค. การมีหลักประกัน
สินเชื่อสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท หลายลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ แต่อาจจะสรุปออกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ตามลักษณะของผู้ใช้สินเชื่อ
2. ตามลักษณะรูปแบบการให้บริการ
3. ตามลักษณะการชำระคืน
4. ตามลักษณะของแหล่งที่มาสินเชื่อ
5. ตามระยะเวลาในการให้สินเชื่อ
6. ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้
7. ตามหลักประกัน
1. จำแนกตามลักษณะของผู้ใช้สินเชื่อ
ก. สินเชื่อภาครัฐบาล คือ การที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐบาลตลอดจนรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงินหรือซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานเพื่อ
สาธารณประโยชน์ตามข้อตกลง เช่น งบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งการเกิดสินเชื่อภาครัฐบาล จะเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ คือ
1. งบประมาณขาดดุล
2. เป็นการส่งเสริมการลงทุน
3. เป็นการขาดดุลการชำระเงิน
4. ภาวะสงคราม
1. ข้อจำกัดในการให้สินเชื่อ
2. แหล่งที่มา
2.1 ภายในประเทศ - ตั๋วเงินคลัง ระยะเวลา 3 – 6 เดือน
- พันธบัตร ระยะเวลามากกว่า 10 ปี
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
2.2 ต่างประเทศ - ธนาคารโลก
- องค์กรระหว่างประเทศ เช่นองค์กรสหประชาชาติ กองทุนฟื้นฟูระหว่างประเทศ ฯลฯ
ข. สินเชื่อภาคเอกชน คือ การกู้ยืมเงินหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อโดยบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ธุรกิจเอกชน เพื่อนำไปใช้จ่ายส่วนตัว หรือเพียงแสวงหากำไร สามารถแบ่งได้เป็น สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และสินเชื่อเพื่อการบริโภค
2. จำแนกตามลักษณะรูปแบบการให้บริการ มี 2 ชนิด คือ
ก. สินเชื่อเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
- การซื้อสินค้าหรือบริการโดยมิได้มีการชำระเป็นเงินสดในทันทีที่ได้รับสินค้าหรือบริการ เป็นลักษณะของการนำสินค้าหรือได้รับบริการไปก่อนโดยยังมิได้ชำระเงิน แต่จะมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนแน่นอนตามข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกัน
ข. สินเชื่อเงินสด
- การกู้ยืมเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายตามความต้องการของผู้กู้ยืม เป็นลักษณะที่ผู้กู้ยืมจะได้รับเงินสดออกไปจากผู้ให้กู้ยืมตามวัตถุประสงค์ที่ตกลงกันไว้ เช่น เพื่อการลงทุน เพื่อการซื้อทรัพย์ถาวร เป็นต้น
3. จำแนกตามลักษณะของการชำระคืนมี 2 ชนิด คือ
ก. Single payment Credit สินเชื่อชำระครั้งเดียว
ข. Installment Credit สินเชื่อผ่อนส่ง
4. จำแนกตามลักษณะของแหล่งที่มาสินเชื่อ
ก. เอกชน
ข. สถาบันการเงิน
ค. หน่วยงานธุรกิจ
ง. องค์การที่ไม่หวังผลกำไร เช่น สหกรณ์ สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น
5. จำแนกตามระยะเวลาการให้สินเชื่อ มี 3 ชนิด คือ
ก. สินเชื่อระยะยาว (สินเชื่อเพื่อการลงทุน) ระยะเวลามากกว่า 5 ปี
ข. สินเชื่อระยะปานกลาง ระยะเวลาตั้งแต่ 1 – 5 ปี
ค. สินเชื่อระยะสั้น ระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี
6. จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ มี 2 ชนิด คือ
ก. สินเชื่อเพื่อการบริโภค
- สินเชื่อที่ผู้บริโภคใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการกู้ยืมเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
เป็นสินเชื่อที่ผู้บริโภคเป็นผู้ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จะนำไปบริโภค โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
ข. สินเชื่อเพื่อการผลิต หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
- สินเชื่อที่ให้เพื่อนำไปใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบและเครื่องมือเครื่องใช้ โดยมีวัตถุประสงค์นำไปผลิตสินค้าหรือบริการ
- สินเชื่อที่หน่วยงานธุรกิจเป็นผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน เช่น สินเชื่อเพื่อการเคหะ สินเชื่อเพื่อการเกษตร สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME’s เป็นต้น
7. จำแนกตามหลักประกัน มี 2 ชนิด คือ
ก. Secured Credit สินเชื่อที่มีหลักประกัน อาจจะเป็นการจำนำสังหาริมทรัพย์ หรือการจำนองอสังหาริมทรัพย์ก็ได้
ข. Unsecured Credit สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน โดยอาศัยการพิจารณาจากความสามารถและความตั้งใจในการชำระหนี้ โดยมีพื้นฐานจากการติดต่อกันมาเป็นเวลานาน
ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงและอธิบายลักษณะโดยละเอียดของสินเชื่อเพื่อการบริโภค
เราสามารถจำแนกสินเชื่อเพื่อการบริโภค ได้ดังนี้ คือ
1. สินเชื่อค้าปลีก Retail Credit
เป็นสินเชื่อที่ให้แก่บุคคลที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการ อาจใช้ชื่อว่า "สินเชื่อการค้า"
2. สินเชื่อส่วนบุคคล Personal Credit
เป็นสินเชื่อที่ให้บุคคลกู้ยืมในรูปของเงินสดเพื่อนำไปใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค อาจใช้ชื่อว่า "เงินกู้ยืม"
1. การเปิดบัญชี
- เป็นการให้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน โดยลูกค้าจะใช้วิธีการเปิดบัญชีซื้อเชื่อกับร้านค้า
2. การเปิดบัญชีแบบหมุนเวียน
- เป็นการให้สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน โดยลูกค้าจะเปิดบัญชีซื้อเชื่อกับร้านค้า และลูกค้ามีสิทธิ์ซื้อเชื่อได้อีกถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ชำระหนี้ครั้งแรกเสร็จตามกำหนดก็ตาม
3. สินเชื่อผ่อนส่ง
- เป็นการให้สินเชื่อโดยที่ผู้ขายจะกำหนดให้ผู้ซื้อแบ่งชำระค่าสินค้าหรือบริการเป็นงวดตามระยะเวลาที่กำหนด
4. บัตรเครดิต Credit Card
- เป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริโภคโดยไม่ต้องถือเงินสดเป็นจำนวนมาก
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการออกบัตรเครดิต
1. Local Card ใช้ได้ในประเทศไทยเท่านั้น
2. International Card - VISA , Master , JCB สามารถใช้ได้ทั่วโลก โดยมีบริษัทแม่เป็นเจ้าของบัตรดังกล่าว
|
การเปิดบัญชี |
สินเชื่อผ่อนส่ง |
บัตรเครดิต |
|
1. ช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้น |
1. มีความสะดวกสบายมากขึ้น |
1. ลดความเสี่ยงให้กับผู้ให้สินเชื่อ |
ข้อดี |
2. มีการกระจายปริมาณขายสินค้าในแต่ละงวดเวลา |
2. ก่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น |
2. ลดภาระและดอกเบี้ยในการทวงหนี้ของผู้ขายสินค้าหรือบริการ |
|
3. ช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง |
|
3. สะดวกสบาย |
|
|
|
4. สามารถยืดเวลาในการชำระหนี้ |
|
1. ลูกค้าที่ชำระเป็นเงินสดจะเสียเปรียบ |
1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่าความเป็นจริง |
1. ทำให้เสียโอกาสในการได้รับส่วนลดเงินสด |
ข้อเสีย |
2. เกิดการสุรุ่ยสุร่าย |
|
2. ต้องซื้อเครื่องมือเพื่อสำเนาบัตรเครดิต |
|
3. เงินทุนจะจมอยู่ในลูกหนี้ |
|
3. ผู้ขายเชื่อไม่ทราบประวัติของผู้ซื้อ |
|
4. เกิดปัญหาการคืนสินค้า |
|
4. ผู้ขายอาจจะเสียโอกาสในการได้ผู้ซื้อที่ดี |
สินเชื่อส่วนบุคคล
– วิธีการกู้ยืมมีทั้งชนิดมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน สามารถแบ่งได้เป็น
|
การกู้ยืมระยะสั้น |
การกู้ยืมระยะยาว |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อนำไปใช้จ่ายในครอบครัว |
ปรับปรุงที่อยู่,ชำระหนี้ |
จำนวนเงิน |
ไม่สูงมากนัก |
สูง |
ระยะเวลา |
ไม่เกิน 1 ปี |
เกินกว่า 1 ปี |
กระบวนการกู้ยืม |
ไม่ยุ่งยาก |
มีกระบวนการที่ค่อนข้าง |
หลักประกัน |
มีหรือไม่ก็ได้ |
มี (บุคคล,ทรัพย์สิน) |
วิธีการชำระหนี้ |
ครั้งเดียว,ผ่อนชำระ |
ครั้งเดียว,ผ่อนชำระ |
อัตราดอกเบี้ย |
ต่ำ |
ขึ้นกับแหล่งที่มาของสินเชื่อ |
วัตถุประสงค์ |
เงินให้กู้ยืม |
การค้ำประกัน |
ทุนหมุนเวียน | 1. O/D อายุ 1 ปี |
1. ออก Bid Bond |
ความจำเป็นเกิดขึ้นในเวลา |
2. กู้โดยมีตัวเงินไม่เกิน |
2. Performance Bond |
|
3. กู้โดยมีสัญญาเงินกู้ไม่เกิน |
3. Advance Payment Bond |
|
|
4. ค้ำประกันเงินกู้ |
|
|
5. L/C อาจจะเป็น Domestic |
|
|
6. T/R |
วัตถุประสงค์ |
เงินให้กู้ยืม |
การค้ำประกัน |
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร |
1. กู้ระยะยาว |
1. ค้ำประกันระยะยาวสำหรับ |
|
2. L/C Loon (เงินกู้เพื่อชำระ |
2. ค้ำประกันสำหรับหนี้สิน |
|
3. กู้ส่วนบุคคล |
|
สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดในสินเชื่อแต่ละประเภท กำหนดได้ในหลายๆอัตรา ดังนี้คือ
MOR = Minimun Overdraft Rate เหมาะกับเงินกู้ระยะสั้น
MLR = Minimun Loan Rate
MRR = Minimun Retail Rate ,GLR = General Lending Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยชั้นดีสำหรับลูกค้าทั่วๆไป เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ระยะสั้น, ระยะปานกลาง, ระยะยาว
MMR = Money Marketing Rate เหมาะกับเงินกู้ Call
Ceiling Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่กำหนดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด
อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี (Prime Rate) รายใหญ่ ได้แก่ MOR , MLR , MRR ส่วนอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี คือ MRR , GLR
สำหรับในภาวะเศรษฐกิจทั่วๆ ไป MMR จะต่ำสุด แต่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ MMR จะสูงสูด
สรุป
สินเชื่อบางชนิดมีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่จัดไว้ในประเภทที่แตกต่างกัน เนื่องจากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ในทางปฏิบัติสินเชื่อที่เกิดขึ้นไม่ได้มีลักษณะเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะมีลักษณะหลายๆอย่างประกอบกันในเวลาเดียวกันจึงเป็นการยากที่จะจัดไว้ในประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างเหมาะสมได้
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงสินเชื่อในแง่ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ สามารถจำแนกประเภทสินเชื่อ ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ตามลักษณะของสินเชื่อ
2. ตามลักษณะการนำสินเชื่อไปใช้
1. จำแนกตามลักษณะของสินเชื่อ มี 2 ประเภท คือ
ก. Funding Credit เป็นวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับลูกค้า (ผู้กู้) และได้รับเงินสดออกไปทันที
ข. Non - Funding Credit เป็นวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับลูกค้า (ผู้กู้) แต่ไม่ได้รับเป็นเงินสดออกไป
ตัวอย่างของ Funding Credit และ Non-Funding Credit
Funding Credit |
Non – Funding Credit |
|
|
2. จำแนกตามลักษณะการนำสินเชื่อไปใช้ มี 2 ประเภท คือ
ก. Domestic Credit สินเชื่อภายในประเทศ เป็นวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับลูกค้า เพื่อใช้หมุนเวียนและลงทุนในธุรกรรมภายในประเทศ
ข. International Credit สินเชื่อต่างประเทศ เป็นวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับลูกค้า เพื่อใช้หมุนเวียนและลงทุนในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
สินเชื่อภายในประเทศ (Domestic Credit) |
สินเชื่อต่างประเทศ (International Credit) |
1. O/D |
1. L/C |
2. S/T Loan |
2. T/R |
3. CBD/DBD |
3. P/C |
4. L/G |
4. EB L/C |
5. Avalled / Accepted Bill |
5. OBP |
6. D.L/C |
6. Forward Exchange |
7. D.P/C |
7. Off Shore Loan |
8. Refinance with BOT |
8. Syndicated Loan |
9. Refinance with Exim Bank |
|
10. M/F (Mortgage Finanee) |
|
1. O/D (Overdraft) วงเงินเบิกเกินบัญชี
ความหมาย การให้กู้ยืมเงินเกินกว่าจำนวนเงินฝากที่ลูกค้ามีอยู่ภายในวงเงินที่กำหนด โดยวัตถุประสงค์ทั่วไป คือ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ
นิติกรรม สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี
ความเสี่ยง ลูกค้าใช้เงินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
แนวทางลดความเสี่ยง คัดเลือกลูกค้าอย่างรอบครอบ
สังเกตการเดินบัญชีของลูกค้า
ทบทวนการดำเนินงานและวงเงินของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
อัตราดอกเบี้ย MOR, MRR
2. S/T LOAN (Short Term Loan) เงินกู้ระยะสั้น
ความหมาย การให้กู้ยืมระยะสั้น โดยมีกำหนดเวลาในการชำระคืนเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการสำหรับ
ระยะสั้น
นิติกรรม ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note P/N)
ความเสี่ยง ความสามารถในการชำระคืน,การใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
แนวทางลดความเสี่ยง พิจารณาคัดเลือกลูกค้าอย่างรอบคอบ
กำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ทบทวนการดำเนินงานของกิจการ
อัตราดอกเบี้ย MOR, MRR
3. L/T LOAN (Long Term Loan) เงินกู้ระยะยาว
ความหมาย การให้กู้ยืมเงินซึ่งมีระยะเวลาชำระคืนเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยมีวัตถุ
ประสงค์เพื่อเป็นการลงทุนในทรัพย์สินของกิจการ เช่นที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อาคารสำนักงาน โรงงาน และเครื่องจักร เป็นต้น
นิติกรรม สัญญาเงินกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ความเสี่ยง ความสามารถในการชำระคืนในระยะยาว การใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์
ความล่าช้าในการดำเนินงาน
แนวทางลดความเสี่ยง วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับการใช้เงิน
คัดเลือกลูกค้าอย่างรอบคอบ
มีการกำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินกู้
กำหนดเงื่อนไขด้านอื่นๆ เช่น หลักประกัน
อัตราดอกเบี้ย MLR, MRR
4. CBD (Clean Bill Discounted) การรับซื้อลดตั๋วเงิน
ความหมาย การให้กู้ยืมเงินโดยลูกค้ามอบตั๋วเงิน ซึ่งธนาคารมีสิทธิที่จะเรียกเก็บเงิน
จากผู้ที่มีหน้าที่จ่ายเงินตามตั๋วนั้นๆ เมื่อถึงกำหนดระยะเวลา (ไม่เกิน 90 วัน)
นิติกรรม สัญญารับผิดรับใช้
ความเสี่ยง คุณภาพของตั๋วเงิน
ความสามารถในการชำระคืนระยะสั้น
แนวทางลดความเสี่ยง ตรวจสอบคุณภาพของตั๋วเงิน
กำหนดรายชื่อผู้สั่งจ่ายที่ธนาคารจะรับซื้อ
ทบทวนการดำเนินงานของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
คัดเลือกลูกค้าอย่างรอบคอบ
อัตราดอกเบี้ย MLR, MRR
5. L/G (Letter of Guarantee) หนังสือค้ำประกัน
ความหมาย การที่ธนาคารผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้าในการปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อผูกพันต่างๆ ต่อบุคคลอื่นอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถ้าผู้ที่ธนาคารค้ำประกันปฏิบัติไม่ได้ตามสัญญา ธนาคารจะต้องรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามหนังสือค้ำประกัน ส่วนใหญ่จะเป็นการค้ำประกันสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น
1. Bid Bond เป็นการค้ำประกันการยื่นซองการประกวดราคา ไม่ต่ำกว่า 10% ของ
มูลค่างาน
2. Performance Bond เป็นการค้ำประกันตามสัญญาหลังจากยื่นซอง Bid Bond แล้วและได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับงาน มีการเซ็นสัญญารับงาน ผู้ว่าจ้างต้องการความมั่นใจว่าจะทำงานให้เสร็จตามสัญญา
3. Advance Payment Guarantee เกิดขึ้นในกรณีที่ถ้าผู้ว่าจ้างให้เงินล่วงหน้าเป็น
เปอร์เซนต์ของมูลค่างาน และไม่แน่ใจว่าจะนำเงินนั้นไปใช้ในการก่อสร้างจริง ก็จะให้ผู้รับการว่าจ้างไปติดต่อธนาคารพาณิชย์ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันความเสียหาย
4. Retention Guarantee เกิดขึ้นหลังจากงานเสร็จสิ้น ผู้ว่าจ้างต้องการยืนยันความสำเร็จของงาน(คุณภาพของงาน)
6. AVALLED /ACCEPTED BILL การรับรองและอาวัลตั๋วเงิน
ความหมาย การที่ธนาคารพาณิชย์ไปค้ำประกันรับรองการชำระเงินตามตั๋วเงินต่อผู้รับเงินตามตั๋วเงิน เพื่อเป็นประกันว่าตั๋วเงินดังกล่าวเมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วจะได้รับเงินแน่นอน
7. D L/C (Domestic Letter of Credit)
ความหมาย วงเงินสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้าในการค้ำประกันการซื้อสินค้าภายในประเทศ มักเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนภายใน
ประเทศค่อนข้างมาก
8. D P/C (Domestic Packing Credit)
ความหมาย วงเงินสินเชื่อระยะสั้นที่ผู้กู้นำเงินไปใช้จ่ายหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบมา
ทำการผลิต (ไม่เกิน 60 วัน)
9. Refinance with BOT ตั๋วเงินขายลดกับธนาคารแห่งประเทศไทย
ความหมาย การให้กู้ยืมระยะสั้นโดยมีกำหนดเวลาในการชำระคืน (ไม่เกิน 180 วัน) เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนระยะสั้นให้กับลูกค้าในกิจการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไปให้ลูกค้าทั่วๆ ไปกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง
10. M/F Mortgage Finance
ความหมาย สินเชื่อเพื่อการเคหะที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ผู้ซื้อรายย่อยที่ธนาคาร
สนับสนุนโครงการนั้นอยู่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญดังนี้ คือ
ในปัจจุบันนี้ การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญค่อนข้างมาก โดยมีลักษณะเป็น Globalization ดังนั้น เราควรจะทำการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการชำระเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนประเภทต่างๆ ของสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง
วิธีการชำระเงินระหว่างประเทศ
1. OPEN ACCOUNT (การชำระเงินโดยตรง)
การชำระเงินวิธีนี้ไม่มีการเรียกเก็บผ่านธนาคาร ผู้ส่งออกจะส่งสินค้าและเอกสารโดยตรงถึงผู้ซื้อ เมื่อครบกำหนดชำระเงิน ผู้ซื้อจะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ขายหรือส่งเงินให้ผู้ขายโดยตรงทาง Telex, S.W.I.F.T. ,Mail Tranfer หรือ Draft วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่ค้า (ผู้ซื้อและผู้ขาย) ที่รู้จักกันดีมากอยู่แล้ว เช่น ค้าขายกันมานาน เป็นบริษัทในเครือระหว่างกัน เป็นต้น โดยผู้ขายจะเป็นฝ่ายยอมเสียเปรียบจัดส่งสินค้าเอกสารแสดงสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อเพื่อเรียกเก็บเงินโดยตรง ส่วนผู้ซื้อจะติดต่อกับธนาคารของตนจัดส่งเงินให้ผู้ขายในภายหลัง ธนาคารพาณิชย์จะเกี่ยวข้องเฉพาะการโอนเงินเท่านั้น
2. Cash in Advance หรือ Advance Payment (การชำระเงินล่วงหน้า)
จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่รู้จักกัน และผู้ขายไม่เชื่อใจผู้ซื้อว่าขาย
สินค้าแล้วจะได้รับชำระเงิน ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่มั่นคงทางการเมืองของผู้ซื้อ ดังนั้น ผู้ขายจะกำหนดไว้ในเงื่อนไขการชำระเงินให้ผู้ซื้อจ่ายชำระค่าสินค้าบางส่วนหรือทั้งจำนวนก่อนที่จะส่งสินค้า ผู้ซื้อต้องมีความเชื่อใจและความไว้วางใจต่อผู้ขาย ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างนาน หรือต้องผลิตเป็นพิเศษโดยเฉพาะเจาะจง ผู้ขายจำเป็นต้องขอให้ผู้ซื้อสินค้าติดต่อธนาคารให้จัดส่งเงินบางส่วน (เงินมัดจำ) หรือเงินทั้งหมดให้ก่อน
ล่วงหน้า จึงจะยอมวางใจผลิตสินค้าตามที่ผู้ซื้อสั่งไว้ ธนาคารไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินโดยมี
หน้าที่เกี่ยวข้องเฉพาะการโอนเงินเท่านั้น
3. DOCUMENTARY COLLECTION (การเรียกเก็บเงินตามเอกสาร)
เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันแล้วและผู้ขายส่งสินค้าแล้วเตรียมเอกสารไปเรียกเก็บโดยธนาคารเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คือ ธนาคารผู้ขายส่งเอกสารไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ซื้อ ผู้ขายยังคงมีกรรมสิทธิในสินค้าอยู่ ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารสิทธิเมื่อชำระเงินหรือรับรองตั๋วแล้ว ธนาคารตัวแทนได้รับเงินจากผู้ซื้อจึงจะโอนเงินไปให้ธนาคารผู้ขาย ดังนั้น กรณีนี้ผู้ขายจะไม่ได้รับเงินจนกว่าเอกสารจะถึงมือผู้ซื้อ และยังมีความเสี่ยงในด้านการชำระเงินค่าสินค้าที่จัดส่งไปแล้ว ดังนั้น การเรียกเก็บเงินตามเอกสารจึงเป็นวิธีการชำระเงิน ซึ่งเหมาะสมในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเชื่อถือและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และรู้จักกันดีหรือค้าขายกันมานานแล้ว โดยผู้ขายจะเป็นฝ่ายยอมเสียเปรียบส่งสินค้าและส่งเอกสารสิทธิผ่านไปยังธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน สำหรับผู้ซื้อจะติดต่อธนาคารของตนจัดส่งเงินให้ผู้ขายในภายหลัง โดยทั่วไปจะเรียกวิธีการชำระเงินนี้ว่า BILLS FOR COLLECTION หรือ (B/C) ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
B/C คือ การที่ธนาคารดำเนินการกับเอกสารตามคำสั่งที่ได้รับเพื่อให้มีการรับรองหรือการชำระเงินแล้วแต่กรณี หรือให้มีการปล่อยเอกสารเมื่อมีการรับรองตั๋วหรือการชำระเงิน หรือให้มีการปล่อยเอกสารตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขอื่นๆ
B/C มีเทอมการชำระเงินดังนี้
1. D/P – Documentary Against Payment ผู้ซื้อต้องชำระเงินให้กับธนาคารก่อนจึงจะได้รับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้ เรียกว่า D/P Sight วิธีนี้ผู้ขายมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้ซื้อสินค้า
2. D/P TERM Documentary Against Payment ผู้ซื้อต้องชำระเงินให้กับธนาคารก่อนจึงจะได้รับเอกสารสิทธิไปออกสินค้า แต่มีระยะเวลาในการชำระเงินตามกำหนดที่ผู้ขายให้มาและรับรองตั๋วแลกเงินว่าจะชำระเงินตามระยะเวลาที่ได้รับ
3. D/A Documentary Against Acceptance ผู้ซื้อจะต้องรับรองตั๋วแลกเงินที่ผู้ขายส่งมอบให้ธนาคาร ซึ่งมีระยะเวลาการชำระเงินตามที่ตกลงกัน ธนาคารจะมอบเอกสารสิทธิไปออก
สินค้าได้ วิธีนี้จะเป็นการที่ผู้ขายให้สินเชื่อทางการค้ากับผู้ซื้อ
4. DOCUMANTARY CREDIT (สินเชื่อที่มีเอกสารประกอบ)
ธนาคารจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การชำระเงินจะผ่านธนาคารโดยการแลกเปลี่ยนโดยตรง คือผู้ขายต้องยื่นเอกสารให้ธนาคารและรับเงินตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขและข้อตกลง การค้าภายใต้สินเชื่อที่มีเอกสารประกอบ ผู้ขายสามารถรับการชำระเงินค่าสินค้าได้ภายหลังส่งสินค้า และปฏิบัติตามเงื่อนไขในสินเชื่อแล้ว เป็นวิธีการชำระเงินซึ่งผู้ขายสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาฐานะการเงินหรือการปฏิเสธการชำระเงินของผู้ซื้อ ดังนั้น สินเชื่อที่มีเอกสารประกอบจึงเป็นหลักประกันในการชำระเงินที่เหมาะสม ช่วยแก้ไขข้อขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เนื่องจากในการค้าทั่วไป ผู้ขายต้องการความมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าโดยเร็วที่สุดและผู้ซื้อประสงค์จะจ่ายเงินเมื่อแน่ใจว่าจะได้รับสินค้า โดยทั่วไปจะนิยมเรียกวิธีการชำระเงินนี้ว่า LETTER OF CREDIT หรือ L/C วิธีนี้เหมาะกับผู้ซื้อและผู้ขายที่ต้องการให้ธนาคารเป็นหลักประกัน เพื่อป้องกันการได้เปรียบและการเสียเปรียบในการรับส่งสินค้าและการชำระเงิน
ประเภทต่างๆ ของสินเชื่อต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์มีให้กับลูกค้า ดังนี้ คือ
1) เลตเตอร์ออฟเครดิต (LETTER OF CREDIT) L/C
L/C คือ ข้อตกลงใดที่จัดให้มีขึ้น ไม่ว่าจะใช้ชื่อหรือเรียกอย่างใดก็ตาม ซึ่งมีธนาคารหนึ่งกระทำการดังต่อไปนี้ต่อเอกสารที่กำหนดไว้โดยถูกต้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขใน L/C โดยคำร้องขอและโดยคำสั่งของผู้ขอเปิด L/C
1. จ่ายเงินให้แก่บุคคลที่ 3 (ผู้ทรงตั๋ว) หรือจ่ายเงินตามคำสั่งของบุคคลที่ 3หรือจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินที่ออกโดยผู้รับประโยชน์ หรือ
2. มอบอำนาจให้อีกธนาคารหนึ่งจ่ายเงินดังกล่าวหรือรับรองหรือรับซื้อตั๋วแลกเงิน กล่าวคือเป็นตราสารที่ธนาคารเป็นผู้ออกตามคำสั่งของลูกค้า (ผู้ซื้อหรือผู้สั่งสินค้าเข้า) โดยแจ้งไปยังผู้รับประโยชน์ (ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าออก) ผ่านทางธนาคารตัวแทนของธนาคารผู้ออก L/C เป็นการยืนยันพันธะผูกพันว่า เพื่อผู้รับประโยชน์ได้ส่งสินค้าและนำหลักฐาน หรือเอกสารที่แสดงถึงการส่งสินค้าแล้วมายื่นต่อธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C ภายในเวลาที่กำหนด ธนาคารผู้ออก L/C จะชำระเงินแก่ผู้รับประโยชน์
ดังนั้น การเปิด L/C จะมีความเสี่ยงทั้งในด้านของลูกค้า คือ ผู้ซื้ออาจจะไม่ชำระเงิน แต่ถ้าเป็นความเสี่ยงในด้านธนาคารก็คือ ปัญหาในด้านชื่อเสียงของธนาคารผู้เปิด L/C เอกสารประกอบการเปิด L/C ไม่สมบูรณ์และความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
L/C จึงเป็น - สื่อกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
- ผู้ซื้อมั่นใจว่าเอกสารที่ได้รับมานั้นเป็นเอกสารที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า
- ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับการชำระเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน เมื่อสามารถจัดหาเอกสารได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C
สำหรับเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ใช้กันในทางปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเป็นเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า ซึ่งเป็นตราสารที่ออกโดยธนาคารเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อกลางการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศหรืออยู่ภายในประเทศเดียวกันได้อีกด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อและผู้ขายทั้ง 2 ฝ่าย
จึงอาจสรุปได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของ L/C ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เลตเตอร์ออฟเครดิตภายในประเทศ (Domestic หรือ Local Letter of Credit) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้การค้าภายในประเทศดำเนินไปได้ด้วยความสะดวกเรียบร้อย ราบรื่นและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มปริมาณการค้าภายในประเทศให้มากขึ้นอีกด้วย โดยที่ธนาคารผู้ออก L/C ได้ให้คำรับรองที่มีหลักประกันว่าผู้ขายสินค้าจะได้รับชำระเงินอย่างถูกต้องแน่นอนจากผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันผู้ซื้อก็สามารถได้รับเอกสารการส่งสินค้า (Shipping Document) เพื่อไปรับสินค้าพร้อมทั้งสามารถควบคุมให้ผู้ซื้อและผู้ขายทั้ง 2 ฝ่ายพยายามปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลง และเงื่อนไขต่างๆที่ได้ระบุไว้ใน L/C
แผนภูมิอย่างง่ายเพื่ออธิบายการเปิด Letter of Credit
1. ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน
2. ผู้ซื้อติดต่อกับธนาคารของผู้ซื้อเพื่อขอเปิด L/C
3. ธนาคารของผู้ซื้อทำการเปิด L/C ไปยังธนาคารของผู้ขาย
4. ธนาคารของผู้ขายได้รับแจ้งการเปิด L/C จากธนาคารของผู้ซื้อ ก็จะทำการแจ้งการเปิด L/C ไปยังผู้ขาย
5. ผู้ขายจะทำการผลิตสินค้าและจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อ
6. เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะนำเอกสารการส่งสินค้ามายื่นต่อธนาคารของผู้ขายเพื่อรับเงินค่าสินค้า
7. เมื่อธนาคารของผู้ขายตรวจสอบรายละเอียดตามเอกสารว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วก็จะส่งเอกสารมายังธนาคารของผู้ซื้อ พร้อมกับตัดบัญชีของธนาคารผู้ซื้อทันที
8. ธนาคารของผู้ซื้อเมื่อได้รับเอกสารการส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะติดต่อเชิญผู้ซื้อเพื่อมารับเอกสารพร้อมกับชำระเงินค่าสินค้า
สำหรับการเปิด Domestic L/C นั้น ไม่ต้องยื่นแบบ ลป. ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
2. เลตเตอร์ออฟเครดิตต่างประเทศ (Foreign Letter of Credit) เป็น L/C ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อกลางการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ห่างกันคนละประเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้มีปริมาณสูงขึ้น เป็นการสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ ในขณะเดียวกันประะเทศของผู้ผลิตสินค้าก็สามารถจัดการจำหน่ายสินค้าให้กับประเทศของผู้ซื้อได้ตามต้องการอีกด้วย
ก. การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการสั่งสินค้าเข้า จะหมายถึง L/C ที่ผู้ซื้อภายในประเทศไทยได้เปิดออกไปยังผู้ขายในต่างประเทศ
ข. การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการส่งออกสินค้าออก จะหมายถึง L/C ที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศได้เปิด L/C มายังผู้ขายที่อยู่ในภายในประเทศไทย
ตัวอย่างแสดงวงจรการขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการสั่งสินค้าเข้า
แต่ถ้าหากกล่าวถึงประเภทของ L/C ตามระเบียบประเพณีและพิธีการปฏิบัติทางการค้า แล้วเราสามารถแบ่ง L/C ได้หลายประเภทตามลักษณะต่างๆ ดังนี้ คือ
1. แบ่งตามลักษณะของการเป็นหลักประกันการชำระเงิน สามารถแบ่งได้เป็น
ก. ชนิดที่เพิกถอนได้ (Revocable Letter of credit) L/C ชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดการผูกพันทางกฏหมายระหว่างธนาคารและผู้รับประโยชน์แต่อย่างใด ธนาคารผู้เปิด L/C สามารถใช้สิทธิจะยกเลิกสินเชื่อหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสินเชื่อเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับประโยชน์ทราบล่วงหน้า เนื่องจากสินเชื่อที่มีข้อความเพียงเท่าที่กล่าวนั้นไม่เป็นที่นิยมกันทั่วๆไป จึงได้มีการเพิ่มเติมเงื่อนไขในการยกเลิกขึ้นบางส่วน กล่าวคือ ธนาคารผู้เปิด L/C รับจะจ่ายเงินตามตั๋วเงินของผู้รับประโยชน์ที่ได้ออกก่อนได้รับแจ้งการยกเลิก แต่ถ้าได้ส่ง L/C ผ่านไปยังธนาคารอีกแห่งหนึ่งแล้ว การเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงจะมีผลก็ต่อเมื่อได้ส่งคำบอกกล่าวไปให้ธนาคารนั้นทราบ ก่อนที่จะได้จ่ายเงินตามตั๋วเงินของผู้รับประโยชน์
ข. ชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of credit) คือ L/C ที่มีคำรับรองของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกโดยปราศจากความยินยอมของคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก L/C ชนิดนี้ จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้เกี่ยวข้องใน L/C ทั้งหมด และ L/C ชนิดเพิกถอนไม่ได้จะต้องมีวันครบกำหนดและมีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “ ไม่สามารถเพิกถอนได้ ”
2. แบ่งตามลักษณะภาระผูกพันของธนาคาร สามารถแบ่งออกได้
ก. ชนิดที่มีการยืนยันและรับรองว่าจะซื้อเอกสาร (Confirmed Letter of Credit) สามารถเกิดขึ้นได้กับ L/C ชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable L/C) เท่านั้น ซึ่งจะกระทำเมื่อธนาคารของผู้ขายได้รับ L/C และมีการพิจารณา สินเชื่อของธนาคารที่เปิด L/C เรียบร้อยแล้ว จึงจะใช้วิธีระบุคำรับรองเพื่อเข้าร่วมรับผิดชอบเพิ่มเข้าไปใน L/C ฉบับนั้นเลย
ข. ชนิดที่ไม่มีการยืนยันและรับรองว่าจะซื้อเอกสาร (Unconfirmed Letter of Credit) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง L/C ที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable L/C) และ L/C ที่เพิกถอนได้ (Revocable L/C) ถ้าเป็น L/C ชนิดที่เพิกถอนไม่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับการบอกกล่าวของธนาคารที่เปิด L/C ว่ามีการแจ้งให้ธนาคารผู้ขายเพิ่มการยืนยันหรือไม่ แต่ถ้าเป็น L/C ชนิดที่เพิกถอนได้นั้น ธนาคารที่เปิด L/C จะไม่มีการแจ้งให้ธนาคารผู้ขายเพิ่มการยืนยันหรือรับรองลงไปใน L/C แน่นอนเนื่องจาก L/C ชนิดนี้สามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้
3. แบ่งตามลักษณะการชำระเงิน สามารถแบ่งออกได้เป็น
ก. L/C Sight คือ L/C ที่ธนาคารกำหนดให้ผู้รับประโยชน์หรือผู้ขายสินค้าจ่ายเงินเมื่อเห็น (At Sight) ให้กับผู้ขอเปิด L/C ทันที
ข. L/C Time คือ L/C ที่ธนาคารจะกำหนดให้ผู้ขายหรือผู้รับประโยชน์ออกตั๋วแลกเงินชนิดจ่ายโดยมีกำหนดระยะเวลาหลังจากเมื่อเห็น (After sight) หรือนับจากวันส่งของลงเรือ หรือหลังจากเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแล้วอาจจะเป็นระยะเวลา 60 วันหรือ 90 วันก็ได้
ค. Deferred L/C คือ L/C ที่ธนาคารจะมีการกำหนดหรือข้อตกลงกันว่าจะมีการจ่ายเงินหรือผ่อนชำระภายหลังจากส่งของเรียบร้อย มักจะเป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าที่มีมูลค่าสูงและใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างนาน
สำหรับค่าธรรมเนียมในการเปิด L/C นั้นจะคิดร้อยละ ¼ ของจำนวนเงินตามอายุของ Letter of Credit ต่อระยะเวลาทุกๆ 3 เดือน โดยมีการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำไว้รายละ 1,000 บาท
คำอธิบายบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเปิด Letter of Credit เพื่อให้เข้าใจวงจรการค้าระหว่างประเทศข้างต้น
1. Acecpting Bank คือ ธนาคารที่ระบุให้เป็นผู้รับรองตั๋วของผู้รับประโยชน์หรือผู้ขายสินค้า
2. Advising Bank คือ ธนาคารตัวกลางที่รับ L/C ผ่านไปยังผู้รับประโยชน์ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับซื้อและรับส่งตั๋วแลกเงินภายใต้ข้อกำหนดใน L/C รวมทั้งเป็นธนาคารกลางของผู้ขายสินค้าที่อยู่ต่างประเทศ
3. COLLECTING BANK (ธนาคารผู้เรียกเก็บเงินตามตั๋ว) คือธนาคารที่จะรับตั๋วแลกเงินจากผู้ส่งออกเพื่อไปเรียกเก็บตามลำดับ จากผู้ซื้อหรือผู้สั่งสินค้าเข้า
4. CONFIRMING BANK (ธนาคารผู้ยืนยันเลตเตอร์ออฟเครดิต) หมายถึงในกรณีที่ ผู้ขาย (ผู้รับประโยชน์) ได้ทำข้อตกลงกับผู้ซื้อว่า ในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อทำการซื้อขายสินค้านั้น ผู้ซื้อจะต้องขอให้ธนาคารผู้เปิด L/C (ISSUING BANK) ขอให้ธนาคารที่อยู่ในประเทศของผู้ขายทำการยืนยัน (CONFIRM) เพื่อรับรอง L/C ฉบับดังกล่าวให้แก่ผู้ขาย เพื่อให้ L/C ฉบับนั้นมีหลักฐานมั่นคงยิ่งขึ้น ธนาคารผู้ยืนยันรับรองเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงมีชื่อเรียกว่า CONFIRMING BANK ซึ่งยอมมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามตั๋วแก่ผู้ขาย เมื่อผู้ขายได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขและคำสั่งที่ได้ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ
5. CORRESPONDENT BANK (ธนาคารตัวแทนต่างประเทศ) คือธนาคารที่รับฝากเงินจากธนาคารหนึ่งธนาคารใดในต่างประเทศ หรือมีธุรกิจด้านการธนาคารติดต่อกัน เราเรียกธนาคารนั้นว่า เป็นธนาคารตัวแทนต่างประเทศของธนาคารนั้นๆ
6. ISSUING BANK (ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต) คือธนาคารผู้ออกหนังสือเลตเตอร์ออฟเครดิต (LETTER OF CREDIT) เพื่อรับรองการชำระหนี้ให้แก่ผู้ส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ หรือผู้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ได้ระบุไว้ใน L/C แทนผู้ส่งสินค้าภายในประเทศ
7. NEGOTIATING BANK (ธนาคารผู้ตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารเพื่อการชำระเงิน) คือสำนักงานสาขาหรือธนาคารตัวแทนต่างประเทศผู้รับภาระการชำระเงินแทนธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (ISSUING BANK) ในกรณีผู้รับประโยชน์หรือผู้ส่งสินค้าออก ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ใน L/C ซึ่งพร้อมที่จะมาขอรับเงินจากสำนักงานสาขา หรือธนาคารตัวแทนต่างประเทศที่เปิด L/C ผ่าน ธนาคารดังกล่าวก็จะตรวจสอบเอกสารที่ผู้รับประโยชน์นำมายืนยัน ว่าถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในหนังสือ L/C ทุกประการหรือไม่ หากเอกสารที่นำมายื่นถูกต้อง ธนาคารดังกล่าวจะปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ให้ไว้ เช่น จ่ายเงินให้ทันทีหรือจัดส่งตั๋วมาเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองตั๋ว วิธีการดังกล่าวเรียกว่า NEGOTIATION ดังนั้น สำนักงานสาขาหรือธนาคารตัวแทนต่างประเทศของธนาคารที่ทำหน้าที่ NEGOTIATE จึงเรียกว่า NEGOTIATING BANK
8. OPENING BANK (ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต) มีความหมายเดียวกับ ISSUING BANK
9. PAYING BANK OR ACCEPTING BANK (ธนาคารผู้จ่ายเงินหรือผู้รับรองตั๋ว) คือ ธนาคารที่เลตเตอร์ออฟเครดิดได้ระบุให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว หรือเป็นผู้รับรองตั๋วให้กับผู้รับประโยชน์หรือผู้ขายสินค้า หากว่าในกรณีที่เลตเตอร์ออฟเครดิต ไม่ได้ระบุให้ธนาคารหนึ่งธนาคารใดเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วของผู้รับประโยชน์ และธนาคารที่เครดิตเปิดผ่านยินยอมตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารของผู้รับประโยชน์ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นธนาคารผู้ตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารเพื่อการชำระเงิน (NEGOTIATING BANK)
10. REMITTING BANK (ธนาคารผู้ส่งตั๋วมาเรียกเก็บ) คือในกรณีธนาคารของผู้ขายสินค้าในต่างประเทศได้ส่งตั๋วเรียกเก็บมาให้ธนาคารเรา ช่วยเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อตาม TERMS OF PAYMENT หรือ TENORS ที่ได้ตกลงกันไว้ เมื่อธนาคารเราเรียกเก็บเงินได้แล้วก็จะส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ธนาคารผู้ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเพื่อส่งให้ผู้ขายอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้เราเรียกธนาคารที่ส่งตั๋วนี้มาว่า “REMITTING BANK” สำหรับธนาคารเราเองเรียกว่า“COLLECTING BANK”
11. RESTRICTED BANK (ธนาคารผู้ถูกเจาะจงให้รับซื้อตั๋วตามเลตเตอร์ออฟเครดิต ที่เปิดมาโดยเฉพาะ) คือธนาคารที่ผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (LETTER OF CREDIT = L/C) เจาะจงให้ผู้รับประโยชน์รับเงินจากธนาคารใดธนาคารหนึ่งโดยเฉพาะ โดยที่ผู้รับประโยชน์มิได้เป็นลูกค้าของธนาคารดังกล่าวก็ได้
2) ทรัสรีซีท (TRUST RECEIPT) T/R
T/R คือ ตราสารที่ผู้สั่งสินค้าเข้าทำไว้ต่อธนาคารโดยอาศัยความเชื่อถือที่ธนาคารมีต่อลูกค้าและลูกค้าให้คำรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิในสินค้านั้น และมีอำนาจที่จะเรียกกลับคืนมาหรือทำการจำหน่ายแทนได้ทุกโอกาส และในการจำหน่ายสินค้านั้นลูกค้าจะกระทำไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารและจะนำเงินที่ขายสินค้าได้นั้นมาชำระให้แก่ธนาคาร
การให้สินเชื่อ T/R นี้มีระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากลูกค้ามีความขัดข้องทางการเงินยังไม่สมารถชำระเงินให้กับธนาคารได้ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาเอกสารไปออกสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าตกค้างอยู่ที่ท่าเรือนานเกินไป หรือต้องการนำสินค้าออกไปขายก่อน แล้วจึงนำเงินมาชำระแก่ธนาคาร ส่วนใหญ่จึงจะต้องพิจารณาว่าสินค้านั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งนานเท่าใด ผู้ซื้อสินค้าประเภทนี้มาขายใช้ระยะเวลานานเพียงใด และให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้ออย่างไร จึงมีความสามารถนำเงินนั้นมาชำระให้แก่ธนาคารได้ เช่น 90 ,120 หรือ 180 วัน เป็นต้น
3) แพคกิ้งเครดิต (Packing Credit) P/C
P/C เป็นสินเชื่อที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank Exim Bank) ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ให้แก่ผู้ส่งสินค้าออกและผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในการจัดเตรียม
สินค้า ซื้อหาวัตถุดิบสำหรับส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งสินค้าเกษตรกรรมและสินค้า
อุตสาหกรรม สำหรับจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมนั้นร้อยละ50 มาจากธนาคารพาณิชย์ และอีกร้อยละ 50 เป็นการปล่อยสมทบมาจากธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน) กล่าวคือ เป็นการให้สินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกเพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาวัตถุดิบมาผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือจัดซื้อสินค้าและดำเนินการส่งสินค้าเหล่านั้นออกไปยังต่างประเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การให้กู้ในช่วงก่อนการส่งออก (Pre –Export Credit) เมื่อผู้ส่งสินค้าออก (Exporter) ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าและได้รับแจ้งการเปิด L/C จากผู้สั่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้ส่งสินค้าออกมีความขัดข้องทางการเงิน ผู้ส่งสินค้าออกอาจจะขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำเงินไปจัดซื้อวัตถุดิบ สินค้าและเตรียมการส่งสินค้าออกโดยลูกค้าจะมอบ L/C และสิทธิการรับเงินตาม L/C ให้แก่ธนาคารไว้เป็นหลักประกัน
2. การกู้ในช่วงหลังการส่งออก (Post –Export Credit) ในกรณีที่ผู้ส่งออกผลิตสินค้าของตนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มีปัญหาในการหาตลาดในต่างประเทศ ผู้ส่งออกอาจให้ธนาคารในต่างประเทศติดต่อผ่านธนาคารต่างประเทศกับธนาคารในประเทศ ให้ทำการติดต่อหาผู้ซื้อสินค้าของตน รวมทั้งพิจารณาถึงฐานะความเหมาะสมของผู้ซื้อในต่างประเทศด้วย มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ส่งออกต้องการหาตลาดเพื่อทำการจำหน่ายสินค้าของตน
ดังได้กล่าวแล้วว่า Packing Credit เป็นวงเงินที่หน่วยงานของรัฐโดย EXIM BANK ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจทั่วไป คือ ภาคเกษตร อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการส่งออก เริ่มมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นความช่วยเหลือทางการเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ การให้สินเชื่อประเภทนี้เป็นการให้กู้เงินโดยมีเอกสารประกอบซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของเอกสารที่นำมาทำการ Packing ดังนี้ คือ
1. P/C AGAINST L/C 2. P/C AGAINST PURCHASE ORDER 3. P/C AGAINST CONTRACT |
ธนาคารให้วงเงินกู้กับสินเชื่อประเภทที่ 1 ประมาณ 80-90% ของมูลค่าที่กำหนดไว้ใน L/C สำหรับประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ธนาคารให้วงเงินกู้ประมาณ 70% เนื่องจากมีความเสี่ยงในการชำระเงิน
4) การรับซื้อตั๋วเงินภายใต้ L/C (EB L/C)
เกิดขึ้นในกรณีที่ลูกค้าได้ส่งออกสินค้าตามเงื่อนไขใน L/C ได้ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ลูกค้าจะนำตั๋วเงินดังกล่าวมาขายลดต่อธนาคารโดยธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีให้ลูกค้าทันทีโดยไม่ต้องรอเรียกเก็บก่อน การรับซื้อตั๋วเงินภายใต้ L/C หากมีเงื่อนไขและเอกสารถูกต้องตามระเบียบของ EXIM BANK ก็จะสามารถทำแพ็คกิ้งเครดิตได้ด้วยเป็นประเภท Post Shipmant ทั้ง Sight และ Time ในการรับซื้อตั๋วเงินภายใต้ L/C ของธนาคาร ธนาคารจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการรับซื้อ เพราะเท่ากับธนาคารยอมรับที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายก่อนที่จะ Claim เงินตาม L/C สิ่งที่ธนาคารจะต้องพิจารณาในการรับซื้อ L/C แต่ละฉบับ คือ
1. Country Risk ประเทศของลูกค้าที่เปิด L/C
2. Issuing Bank ธนาคารผู้เปิด L/C
3. Exporter ผู้ส่งออกสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาหรือไม่
4. Letter of Credit ประเภทของ L/C เช่น L/C Time หรือ L/C ที่ผิดเงื่อนไข
5) การรับซื้อตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ (OBP)
คือ การรับซื้อตั๋วเรียกเก็บสินค้าออก ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ (D/A) ธรรมดาที่มีเงื่อนไขและเอกสารถูกต้องตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถนำไปทำแพคกิ้งเครดิตได้เป็นประเภท Post Shipment หากเอกสารและเงื่อนไขไม่ตรงตามระเบียบผู้ขายจะนำตั๋วมาขายลด กับธนาคารพาณิชย์ได้
แผนภูมิแสดงการรับซื้อตั๋วเงินเมื่อการเรียกเก็บ
6) SHIPPING GUARANTEE (S/G)
S/G คือ การค้ำประกันเพื่อการออกสินค้า ธนาคารค้ำประกันผู้ซื้อสินค้าต่อบริษัทเรือเพื่อให้บริษัทเรือออกใบขนสินค้า D/O ให้กับผู้ซื้อนำไปเป็นหลักฐานในการออกสินค้าต่อศุลกากร
โดยปกติในการสั่งสินค้าเข้าผู้ซื้อจะได้รับเอกสาร (Shipping Document) ก่อนสินค้าจะถึงท่าเรือ กรณีที่สินค้ามาถึงท่าเรือก่อนที่ธนาคารจะได้รับเอกสาร และผู้ซื้อมีความประสงค์จะนำสินค้าออกจากท่าเรือก่อน จึงขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการออกสินค้าต่อบริษัทเรือ เมื่อธนาคารได้รับเอกสารแล้วจึงสลักหลังใบตราส่งสินค้า (B/L) ให้ผู้ซื้อนำไปแลกหนังสือค้ำประกันคืนให้ธนาคาร มิฉะนั้นธนาคารก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่ตามหนังสือค้ำประกันนั้น
กล่าวคือ S/G เป็นหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออกให้ไว้ต่อบริษัทเรือในกรณีที่เรือมาถึงก่อนที่ธนาคารจะได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องจากธนาคารในต่างประเทศ ธนาคารจะให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้า โดยธนาคารออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัทเรือขอให้ส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยรับรองในกรณีที่บริษัทเรือได้มอบสินค้าตามที่ระบุให้แก่ลูกหนี้และเมื่อได้รับใบตราส่ง ดังนั้น ธนาคารจะมีความเสี่ยงในการรับผิดชอบจนกว่าจะได้ Shipping of Guarantee คืน
การติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศ จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า และระบุราคาสินค้าไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการที่จะให้มีการปฏิบัติตามสัญญาซื้อ-ขาย และกำหนดความรับผิดชอบของคู่สัญญา เรียกว่า Trade Terms เงื่อนไขราคาสินค้าและการส่งมอบสินค้านี้ ได้มีการกำหนดโดยสภาหอการค้านานาชาติเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างคู่สัญญา ในการแปลความหมายของความรับผิดชอบ ความเสี่ยงและกรรมสิทธิ์ในสินค้า เพื่อให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย จัดการเกี่ยวกับการชำระเงินเพื่อการขนส่ง การประกันภัยสินค้าจากผู้ขายถึงผู้ซื้อ การแบ่งความรับผิดชอบในการขนส่งสินค้าที่สำคัญ เช่น
EXWORKS, EXFACTORY – ผู้ขายกำหนดราคาขายของสินค้า และรับผิดชอบสินค้าที่หน้า โรงงานของผู้ขาย และผู้ขายส่งสินค้าที่โรงงาน
- ผู้ซื้อ จัดการส่งสินค้าจากโรงงานถึงปลายทางเอง
FOB (FREE ON BOARD) – ผู้ขายรับผิดชอบส่งสินค้าขึ้นเรือ และส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือของผู้ขาย จัดทำใบรับสินค้าบรรทุกขึ้นเรือ จัดหาใบอนุญาตการส่งออก ชำระภาษีการส่งออก ชำระค่าขนส่งสินค้าขึ้นเรือ (ถ้าไม่รวมในค่าระวางเรือ)
- ผู้ซื้อ ระบุชื่อเรือ จัดทำสัญญาการขนส่ง จ่ายค่าระวางเรือ ชำระค่าขนสินค้าขึ้นเรือหรือลงเรือ (ถ้ารวมในค่าระวางเรือ) จัดทำการประกันภัย
C&F (COST & FREIGHT) – ผู้ขาย จัดทำสัญญาการขนส่ง ชำระค่าระวางเรือถึงเมืองท่าที่ระบุส่งสินค้าขึ้นเรือ จัดทำ Invoice ,B/L จัดทำใบอนุญาตใบส่งออกชำระภาษีการส่งออก ชำระค่าขนส่งสินค้าขึ้นหรือลงเรือ (ถ้าไม่รวมค่าระวางเรือ) โดยผู้ขายจะรวมต้นทุนในเรื่องค่าระวางเรือ ไว้ในต้นทุนสินค้า
- ผู้ซื้อ รับเอกสารเพื่อไปรับสินค้า ชำระค่าขนสินค้าลงจากเรือ (ถ้าไม่รวมในค่าระวางเรือ) จัดทำประกันภัย
CIF (COST, INSURANCE – ผู้ขาย เหมือนกับ C&F รวมกับทำสัญญา
& FREIGHT) ประกันภัย ชำระค่าเบี้ยประกันภัย
- ผู้ซื้อ รับเอกสารเพื่อไปรับสินค้า ชำระค่าขนสินค้า (ถ้าไม่รวม ในค่าระวางเรือ)
เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อส่งให้กับผู้ซื้อตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขาย เอกสารที่ใช้กันมีอยู่ดังนี้
1. B/E (Bills of Exchange) คือ ตราสารที่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ชำระเงินทันทีเมื่อถูกเรียกร้อง หรือตามระยะเวลาที่กำหนดให้ไว้แก่บุคคลที่สาม เรียกว่าผู้รับเงิน
2. Invoice คือ เอกสารที่ผู้ขายสินค้าทำขึ้น ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า แสดงรายละเอียดและราคาของสินค้าขายและได้ขนส่งมานั้น
3. B/L หรือ AWB หรือ PPR คือ ตราสารที่ผู้ขนส่ง (ปกติหมายถึง บริษัทเรือบรรทุกสินค้า) ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าได้รับขนส่งสินค้าไปให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งตามสถานที่ที่กำหนดไว้ ใบตราส่งที่ออกโดยบริษัทเครื่องบิน เรียกว่า Airway Bills ส่วนใบตราส่งที่ออกโดยที่ทำการไปรษณีย์ เรียกว่า Parcel Post Receipt
4. Packing List หรือ Weight Note คือเอกสารที่แสดงจำนวนสินค้าที่บรรจุไว้ในหีบห่อ
5. Certificate of Origin คือ เอกสารแสดงประเทศที่ผลิตสินค้า ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การอิสระ หรือหน่วยงานของรัฐบาล
6. Insurance Policy คือ ตราสารแสดงภาระผูกพันที่บริษัทรับประกันภัยจะชำระค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่กำหนดแก่บุคคลที่ระบุไว้ เมื่อเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งนั้น
7. Sanitary of Health Certificate คือ เอกสารที่ทำขึ้นโดยองค์การอิสระเพื่อรับรองความบริสุทธิ์(Degree of Purity ) ความสะอาด และสภาพสินค้าหรือสุขภาพของสัตว์มีชีวิต
7) วงเงินสินเชื่อสำหรับลดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
(Forword Exchange)
เกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าของธนาคารมีภาระในการรับหรือจ่ายเงินตราต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงในความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ลูกค้าจะทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าไว้กับธนาคาร โดยธนาคารจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการที่ลูกค้าผิดสัญญาและนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น เก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน วงเงินนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Forward Bought เป็นวงเงินที่ผู้ส่งออกสินค้า (ลูกค้าธนาคาร )จองขายเงินสกุลตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร เท่ากับว่า ธนาคารเป็นผู้รับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากลูกค้า
2. Forward Sold เป็นวงเงินที่ลูกค้าของธนาคารจองซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อนำไปชำระค่าสินค้าหรือชำระเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ หมายความว่า ธนาคารเป็นผู้ขาย
เงินตราต่างประเทศล่วงหน้าให้กับลูกค้า
8) Off-Shore Loan
เป็นการให้กู้ยืมแก่ลูกค้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยทั่วไปจะให้สาขาต่างประเทศของธนาคารเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินให้ เพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย สามารถแบ่งได้เป็น
1. Short Term Off-Shore Loan
2. Long Term Off-Shore Loan
ซึ่งจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. LIBOR (London Interbank Offer Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ในตลาดลอนดอนกู้ยืมเงินยูโรดอลลาร์ระหว่างกัน
2. SIBOR (Singapore Interbank Offer Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ในตลาดสิงคโปร์กู้ยืมเงินยูโรดอลลาร์ระหว่างกัน
9) Syndicate Loan
- เป็นวิธีการ (Process) ที่ผู้ให้กู้หลายๆรายรวมกัน หรือร่วมกันภายใต้การนำของผู้ให้กู้รายหนึ่งรายใดเพียงรายเดียว (ผู้จัดการ) หรือภายใต้การนำของผู้กู้หลายๆ รายร่วมกัน (ผู้จัดการร่วม) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันให้กู้
- เป็นวิธีการหรือจัดหาเงินทุนจำนวนมากพอสมควรให้แก่ผู้ที่ต้องการกู้อย่างมี
ประสิทธิภาพและตามวิถีทางของธุรกิจอย่างแท้จริง
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีหลายประการดังนี้
1. ขยายกำลังความสามารถที่จะให้กู้ให้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
2. มีบุคคล 2 ฝ่าย (ผู้กู้และผู้ให้กู้) เท่านั้น การเจรจาก็ไม่จำเป็นต้องมากมายหลายพวก
3. มีความรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
4. ผู้กู้มีทางเลือกในการกู้ยืมมากขึ้น และได้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า
5. โฆษณาสถาบันให้เป็นที่รู้จักในตลาดและได้ติดต่อกับสถาบันที่มีชื่อเสียง
อาจกล่าวได้ว่า
Syndicate Loan (เงินกู้ร่วม)
- เป็นเงินกู้ระยะยาวทั้งในรูปเงินสกุลบาท และ/หรือเงินตราสกุลต่างประเทศที่ให้กู้ร่วมกันโดยสถาบันการเงินมากกว่า 1 สถาบันขึ้นไป โดยทั่วไปจะเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง
ข้อดี : 1. เป็นการลดความเสี่ยงของสถาบันการเงินผู้ให้กู้ร่วม
2. ผู้ให้กู้ร่วมสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับผู้กู้
3. ลดสภาวะการแข่งขันกันระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเอง
4. สามารถลดความเสียหาย หากผู้กู้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข
5. เป็นการแก้ไขปัญหาการให้กู้เกินขีดจำกัดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้
6. เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อสถาบันการเงินผู้ให้กู้
ข้อเสีย 1. ไม่คล่องตัวในการบริหารสินเชื่อ
2. ผลประโยชน์อาจลดน้อยกว่าที่ควรจะได้ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ข้อดี : 1. สามารถกู้เงินได้จำนวนมากเพื่อทำโครงการใหญ่ๆ ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม
2. สามารถลดความเสี่ยงของโครงการ เนื่องจากมีผู้ให้กู้ร่วมช่วยวิเคราะห์สินเชื่อ
3. เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อผู้กู้
ข้อเสีย : 1. ขาดอำนาจในการต่อรอง
2. ใช้เวลานานในการพิจารณาของผู้ให้กู้
3. มีขั้นตอนมากมายทั้งก่อนและหลังการพิจารณาสินเชื่อ
4. มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ
1. Full Underwriting คือ การที่ผู้จัดการเงินกู้(Arranger) รับประกันการหาเงินกู้ให้ทั้งจำนวน
2. Best Effort คือ การที่ผู้จัดการเงินกู้รับว่าจะจัดหาเงินกู้ให้อย่างสุดความสามารถ
3. Partial Underwriting คือ การที่ผู้จัดการเงินกู้รับประกันการหาเงินกู้ให้บางส่วน
- ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) มีหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้หรือโครงสร้างทางการเงินของโครงการ
- ผู้จัดการเงินกู้ (Arranger) มีหน้าที่จัดหาเงินกู้ให้ตามจำนวนที่ผู้กู้ต้องการตามชนิดของการให้กู้ร่วม รวมทั้งจัดหาสถาบันการเงินที่เห็นว่าสนใจในการเข้าร่วมให้กู้
- ผู้นำกลุ่มผู้ให้กู้ร่วม (Leader หรือ Co-leader) ทำหน้าที่หัวหน้าของกลุ่มผู้ให้กู้ร่วม เช่น การเรียกประชุมผู้ให้กู้ร่วมในโอกาสต่างๆ หรือการตรวจสอบการผิดเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้
- ผู้ร่วมให้กู้ (Participant) คือ ผู้ร่วมให้กู้โดยไม่มีหน้าที่พิเศษอื่นใด
- ตัวแทนด้านหลักประกัน (Security Agent) ทำหน้าที่จัดการเรื่องเกี่ยวกับหลักประกัน เช่น ดำเนินการจดจำนองหลักประกัน
- ตัวแทนด้านเงินกู้ (Facilitics Agent) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้วงเงินให้เป็นไปตามเงื่อนไข เช่น การเบิกหรือชำระเงินกู้ในแต่ละครั้ง
ขั้นตอนหรือวิธีการทำ Syndication Loan
1. แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) เพื่อศึกษาและเสนอแนะโครงสร้างทางการเงิน
2. ส่งหนังสือเชิญสถาบันการเงินต่างๆ เข้าร่วมให้กู้ (Invitation) ซึ่งสิ่งที่ส่งไปด้วยอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับโครงการ (Information Memorandum หรือ IM)
3. เมื่อสถาบันการเงินต่างๆ ได้พิจารณาโครงการและทราบความต้องการของผู้กู้แล้วก็สามารถเสนอเงื่อนไขกลับมา (Term Sheet หรือ Offer Letter) ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขและข้อเสนอ ขั้นต้นซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้
4. ผู้กู้จะคัดเลือกผู้ให้กู้ และผู้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้
5. หลังจากเงื่อนไขและรายละเอียดทุกอย่างเป็นที่ตกลงกันได้แล้ว ก็จัดทำเอกสารนิติกรรมและสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อลงนามกันต่อไป