ความหมายของการเรียกเก็บหนี้

การเรียกเก็บหนี้ (Collection) คือ ความพยายามเพื่อให้ได้รับหนี้หรือสินเชื่อที่ปล่อยไปคืน อาจเริ่มจากการเตือนลูกค้าก่อนกำหนด หรือเริ่มจากเมื่อครบกำหนดชำระแล้ว หรือจะเริ่มต้นเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้

การเรียกเก็บหนี้เป็นกิจกรรมสุดท้ายของวงจรธุรกิจ
การเรียกเก็บหนี้ที่ดี จะต้องเรียกเก็บหนี้ได้เร็วในขณะที่ต้องรักษาภาพพจน์ที่ดีของกิจการไว้ด้วย
การเรียกเก็บหนี้เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของฝ่ายสินเชื่อ ซึ่งอาจจะแยกเป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง หรือรวมอยู่ในหน้าที่ของฝ่ายสินเชื่อก็ได้ โดยต้องมีการกำหนด ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บหนี้ให้ชัดเจน
การเรียกเก็บหนี้ต้องอาศัยการประสานงานและความร่วมมือจากฝ่ายอนุมัติสินเชื่อ
ปริมาณงานของการเรียกเก็บหนี้จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการใช้นโยบายการให้สินเชื่อ
การเรียกเก็บหนี้เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะที่พิจารณาอนุมัติสินเชื่ออยู่นั้น ผู้ขอสินเชื่ออาจจะมีความสามารถในการชำระหนี้ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเวลาผ่านไป ความสามารถในการชำระหนี้ที่ได้มีการประเมินไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้
ความสำเร็จของการเก็บหนี้ ขึ้นอยู่กับว่าสามารถเก็บหนี้ได้ครบถ้วนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยหรือไม่
การเก็บหนี้ที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้
การเรียกเก็บหนี้ช่วยลดการเกิดหนี้สูญให้น้อยลงอันเป็นผลทำให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น
การเรียกเก็บหนี้มีความสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าหนี้มีเงินสดไว้ใช้ดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
การเรียกเก็บหนี้ควรมีความยืดหยุ่นไปตามเหตุผลและเงื่อนไขของลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้แต่ละราย
การเรียกเก็บหนี้ควรมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ มีการกำหนดช่วงเวลาให้เหมาะสมและ ต่อเนื่องจากลักษณะการเรียกเก็บหนี้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า การเรียกเก็บ ควบคุมและติดตามหนี้มีความสำคัญและเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารสินเชื่อ

หน้าที่ของการเรียกเก็บหนี้

  • ผู้รับผิดชอบการเรียกเก็บหนี้ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ซึ่งไม่ชำระหนี้นำเงินมาชำระให้แก่ เจ้าหนี้
  • พยายามค้นหาสาเหตุของการที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
  • ค้นหาเหตุผลและแนวทางต่าง ๆ ในการแก้ไขสาเหตุ (ข้อ 2) ของลูกหนี้
  • ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ลูกหนี้นำเงินมาชำระหนี้ได้

 

วัตถุประสงค์ของการเรียกเก็บหนี้

  • พยายามเรียกเก็บหนี้ เพื่อให้ได้รับเงินที่ลูกหนี้ค้างชำระกับเจ้าหนี้มาโดยเร็ว ซึ่งจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังจะกล่าวต่อไป
  • พยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ต่อไป โดยการสร้างความพอใจและสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่ลูกหนี้
  • พยายามทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเรียกเก็บหนี้น้อยที่สุด

 

แนวทางและวิธีการในการเรียกเก็บหนี้

นโยบายและการปฏิบัติในการเรียกเก็บหนี้ควรกำหนดช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการเก็บหนี้ไว้เป็นขั้นตอน มีการกำหนดแนวทางว่าหน้าที่ในการเรียกเก็บหนี้เป็นความรับผิดชอบของบุคคลใด (บุคคลภายในเช่นฝ่ายสินเชื่อ หรือบุคคลภายนอก เช่น หน่วยงานที่ให้บริการเรียกเก็บหนี้) กำหนดหลักเกณฑ์ว่าปริมาณเท่าใดจึงจะถือเป็นหนี้สูญได้ ควรมีการกำหนดนโยบายการเรียกเก็บหนี้ให้เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการเรียกเก็บหนี้ได้ นอกจากนี้นโยบายในการเรียกเก็บหนี้ควรมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องเหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวถึงต่อไปนี้ด้วย

 

ปัจจัยในการกำหนดนโยบายการเรียกเก็บหนี้

  • ประเภทของลูกหนี้
  • ลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ
  • ส่วนเพิ่มของกำไร
  • ระดับการแข่งขัน
  • ระดับเงินทุน

1. ประเภทของลูกหนี้

ลักษณะและคุณภาพของลูกหนี้ที่แตกต่างกันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้เจ้าหนี้ปฏิบัติต่อลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้แตกต่างกันออกไป เพื่อก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ เนื่องจากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระจะมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของทัศนคติ ความเสี่ยง เป็นต้น จึงต้องมีการแบ่งประเภทของลูกหนี้ดังนี้

. จำแนกตามความเสี่ยง โดยพิจารณาจากความตั้งใจและความสามารถในการชำระหนี้

  • ดี (Good Risk) เป็นลูกหนี้ที่ชำระเงินตามกำหนดเวลา มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้
  • ปานกลาง (Fair Risk) เป็นลูกหนี้ที่ได้รับความไว้วางใจ อาจจะชำระเงินล่าช้าบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการเมือง ฯลฯ
  • ต่ำ (Poor Risk) เป็นลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้แต่ไม่เต็มใจจะชำระ หรือจ่ายชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดเสมอๆ

. จำแนกตามลักษณะการชำระเงิน

  • ลูกหนี้ที่ชำระหนี้และได้รับส่วนลดเงินสด
  • ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ทันทีเมื่อครบกำหนด
  • ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ช้าแต่เป็นลูกหนี้ที่ดี
  • ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ล่าช้าแต่ไม่น่าพอใจ
  • ลูกหนี้ที่ไม่มีความรับผิดชอบทางการเงิน

. จำแนกตามลักษณะการผิดนัด

  • ลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้และมีความตั้งใจในการชำระหนี้
  • ลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้แต่ไม่ยอมชำระหนี้
  • ลูกหนี้ที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้

ดังนั้น เจ้าหนี้จึงควรมีการประเมินสถานะของลูกหนี้ โดยพิจารณาจากความ
ตั้งใจในการชำระหนี้คืน และความสามารถในการชำระหนี้คืน ตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

การประเมินสถานะของลูกหนี้

 

สถานะของลูกหนี้

2. ลักษณะของการดำเนินงานทางธุรกิจ สามารถพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ คือ

  • ประเภทของธุรกิจ เช่น กิจการสาธารณูปโภค ธุรกิจค้าขาย เป็นต้น
  • วิธีการดำเนินงานด้านการขาย เช่น การขายเชื่อ,การผ่อนชำระ เป็นต้น
  • ระดับรายได้ เช่น รายได้สูง รายได้ปานกลาง รายได้ต่ำ

3. ส่วนเพิ่มของกำไร (Profit Margin)
การให้สินเชื่อเป็นโอกาสหรือเป็นแนวทางในการที่กิจการจะขายสินค้าได้มากขึ้น และทำให้ได้รับกำไร ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ส่วนเพิ่มของกำไรหรือความสามารถในการทำกำไร ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการได้มาซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามและเรียกเก็บหนี้

4. ลักษณะและระดับการแข่งขัน
การกำหนดนโยบายการเก็บหนี้จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลหรือกลยุทธ์ของคู่แข่งขันด้วยว่ามีนโยบายเน้นหนักในเรื่องใด เช่น ด้านราคา (อัตราดอกเบี้ย) ในด้านการให้สินเชื่อ เป็นต้น

5. ระดับของเงินทุน
ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจหรือเจ้าหนี้อยู่ในสภาวะการณ์ที่ขาดแคลนเงินทุนที่ใช้หมุนเวียนภายในกิจการหรือไม่ ถ้าหากเจ้าหนี้มีเงินทุนค่อนข้างมาก ก็สามารถที่จะยืดหยุ่นในการเรียกเก็บหนี้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเจ้าหนี้มีเงินทุนน้อย ก็อาจจะเข้มงวดในเรื่องนโยบายการเก็บหนี้

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานการเรียกเก็บหนี้
1. เตือนความจำของลูกค้า มักจะเกิดกับลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดต่อได้

  • ส่ง statement หรือ Invoice
  • จดหมาย
  • โทรศัพท์

2. การติดตามทวงหนี้

  • จดหมาย ,จดหมายลงทะเบียน
  • โทรศัพท์ มีความรวดเร็วและสามารถติดตามหนี้ได้โดยตรง ลูกหนี้ไม่สามารถหาข้อแก้ตัวได้ทัน และได้รับคำตอบโดยตรงและรวดเร็ว
  • พนักงานขาย
  • พนักงานสินเชื่อ
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูง เกิดขึ้นจากพนักงานสินเชื่อไม่สามารถติดตามได้ และผู้บริหารระดับสูงมีความคุ้นเคยกับลูกหนี้เป็นอย่างดี

3. การใช้วิธีการรุนแรง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการยืนยันภาระหนี้ที่มีต่อกันตามเอกสารนิติกรรมสัญญาและต้องการพึ่งพากฎหมายในการบังคับชำระหนี้

  • ใช้ทนายหรือสำนักงานกฎหมาย
  • ฟ้องร้องต่อศาล โดยมีค่าธรรมเนียม 2% ของมูลค่าหนี้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

กลยุทธการวางแผนงานติดตามหนี้

ประโยชน์

 1. ทำให้ผลงานการติดตามหนี้ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น
2. ทำให้เกิดการพัฒนาเทคนิคการติดตามหนี้ใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับประเภทต่างๆของลูกหนี้
3. ทำให้เกิดการพัฒนาพนักงานติดตามหนี้ให้มีประสิทธิภาพ
4. ทำให้เกิดการสร้างระบบงานติดตามหนี้ที่ดียิ่งขึ้น
5. ช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้นและง่ายขึ้น
6. ช่วยให้สามารถควบคุมงานติดตามหนี้ได้มากกว่า
สิ่งจำเป็น

 1. เป้าหมายรายปีและรายเดือน
2. วิธีการ แนวทาง การจัดการ ที่ต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
3. กำหนดการของแผนงานติดตามหนี้
4. งบประมาณที่ต้องใช้ในงานติดตามหนี้
5. คาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเตรียมป้องกันหรือแก้ไขไว้ก่อน
6. มาตรฐานที่ต้องการ

สาเหตุที่ทำให้หนี้มีปัญหา

1. ปัจจัยภายนอก / สภาพแวดล้อม

  • ภาวะเศรษฐกิจ / การค้า
  • รสนิยมของผู้บริโภค
  • นโยบายรัฐบาล
  • เทคโนโลยี
  • การแข่งขัน
  • การนัดหยุดงาน
  • ภัยธรรมชาติ

2. ตัวลูกหนี้เอง

  • ทำการค้าเกินตัว / ไม่ประเมินฐานะตนเอง
  • ขยายกำลังผลิตมากเกินไป
  • ลงทุนในธุรกิจหลายประเภท
  • การบริหารงานมีปัญหา
  • ปัญหาทางด้านการเงิน / การตลาด
  • ลูกหนีตีความหมายเงื่อนไขการให้สินเชื่อ
  • หลงลืม
  • ไม่สนใจ
  • ชำระเงินช้าเป็นประจำ
  • ไม่ยอมชำระหนี้
  • ล้มละลาย
  • ตั้งใจโกง
  • กิจการมีปัญหา
  • คาดคะเนสภาพการณ์ผิด
  • ประเมินฐานะตนเองผิด

3. เจ้าหนี้ / ผู้ให้สินเชื่อ

  • นโยบายสินเชื่อไม่ชัดเจน
  • คุณภาพของเจ้าหน้าที่สินเชื่อไม่มีมาตรฐาน
  • ขาดการควบคุมและติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์สินเชื่อ
  • ขาดวิสัยทัศน์ การมองการณ์ไกล
  • ขาดประสบการณ์
  • ประมาท เลินเล่อ
  • ไม่ซื่อสัตย์
การกำหนดแผนการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา
  • ค้นหาสาเหตุของหนี้ที่มีปัญหา
  • เลือกวิธีการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา
  • กำหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้ปฏิบัติ
  • ติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
  • กำหนดแผนการปฏิบัติ (Action Plan) ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดเงื่อนไข

สัญญาณเตือนภัย (Warning Signal)

เป็นสิ่งที่ช่วยเตือนให้เจ้าหนี้ทราบถึงสาเหตุและเหตุผลของการเกิดหนี้ที่มีปัญหา คือการไม่สามารถชำระเงินคืนให้กับเจ้าหนี้ได้ตามกำหนดเวลา มีหลายประเภทดังนี้คือ
  • สัญญาณทางการเงิน (Financial)
  • สัญญาณที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Non financial)
  • สัญญาณทางการบริหาร (Management)
  • สัญญาณทางการดำเนินงาน (Operational)
  • สัญญาณทางธนาคาร (Banking)

1. สัญญาณทางการเงิน Financial Warning Signal

  • ไม่ได้รับงบการเงินตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
  • ระยะเวลาในการเก็บเงินจากลูกหนี้ช้าลง
  • การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในจำนวนลูกหนี้การค้า (Percent)
  • อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือตกต่ำลง
  • การเพิ่มขึ้นของหนี้สินในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม
  • การเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ
  • ยอดขายลดลง
  • ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
  • อัตราร้อยละของต้นทุนสูงขึ้นมาก
  • ผลขาดทุนจากการดำเนินงาน
  • ขยายอายุลูกหนี้โดยเฉลี่ยออกไป
  • เปลี่ยนแปลงนโยบายสินเชื่อ
  • ขยายเงื่อนไขในการเก็บหนี้
  • ให้ความสำคัญกับยอดขายของลูกค้ารายใหญ่เท่านั้น
  • มีลูกหนี้ของบริษัทในเครือและบริษัทร่วม

2. สัญญาณที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Non – financial Warning Signal)

  • ไม่เข้าใจถึงสภาวะของคู่แข่งขัน
  • ไม่มีการกำหนดกลยุทธในการดำเนินธุรกิจ หรือการวางแผนของธุรกิจ
  • ขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านสภาวะตลาด
  • การจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลไม่มีประสิทธิภาพ
  • ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

3. สัญญาณทางการดำเนินงาน (Operational Warning Signal)

  • แผนผังที่ตั้งโรงงานและอุปกรณ์สำนักงานไม่มีประสิทธิภาพ
  • ขาดการควบคุมทางด้านการบริหาร
  • การบริหารบุคลากรไม่มีประสิทธิภาพ
  • การซื้อหรือเก็บรักษาสินค้าคงคลังเพื่อหวังเก็งกำไร

4. สัญญาณทางการบริหาร (Management Warning Signal)

  • เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรมของผู้บริหารคนสำคัญ (Key person)
  • ไม่มีความสามารถในการวางแผน
  • การรายงานและควบคุมทางการเงินไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีระบบระเบียบแบบแผน
  • เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลง
  • การบริหารงานโดยบุคคลคนเดียว (One man Operation)

5. สัญญาณทางธนาคาร (Banking Warning Signal)

  • ยอดเงินในบัญชีเดินสะพัดลดต่ำลง
  • การใช้วงเงินสินเชื่อเกือบเต็มวงเงินมาโดยตลอด
  • ขาดการวางแผนทางการเงินเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
  • ใช้หนี้สินระยะสั้นในวงเงินค่อนข้างสูง
  • การเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในการเพิ่มวงเงินกู้

แนวทางการแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา แบ่งเป็น 20 ขั้นตอน คือ

1. เปลี่ยนหนี้สินระยะสั้นเป็นหนี้สินระยะยาว
2. ให้ลูกหนี้เพิ่มทุน/เปลี่ยนแปลงหนี้เป็นทุน เห็นว่าลูกหนี้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องและใช้เงินลงทุนของตนเองน้อยเกินไป ถ้าเพิ่มเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นมากขึ้น ก็ชักชวนบุคคลหรือผู้สนใจมาร่วมลงทุนเพิ่ม มักเกิดจากการที่ลูกหนี้มีปัญหาทางการเงินมากไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เจ้าหนี้และลูกหนี้ยินยอมให้เจ้าหนี้แปลงหนี้บางส่วนหรือทั้งหมดไปเป็นส่วนทุนของกิจการ รวมทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารในฐานะผู้ถือหุ้นใหม่ วิธีนี้จะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องดีขึ้น ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดน้อยลง มีโอกาสทำกำไรมากขึ้นและยังได้ผู้มีประสบการณ์ทางการเงินเข้าไปช่วยเหลือ
3. เพิ่มวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนให้มีเงินหมุนเวียน อาจเกิดกับกิจการที่มีการขยายตัวมากเกินไป แต่ธุรกิจไม่ได้มีการวางแผนทางการเงินที่ดีทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน เมื่อกิจการขยายตัวไประยะหนึ่งแล้วปัญหาจึงเกิดขึ้น ซึ่งมีวิธีแก้ไขดังนี้ คือ ให้ลูกหนี้เพิ่มทุนเข้ามาจำนวนหนึ่ง ถ้าเพิ่มทุนแล้วมีไม่มากพอเจ้าหนี้ก็จะให้กู้ยืมอีกส่วนหนึ่งเข้าไป แต่ถ้าลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการเพิ่มทุนและเจ้าหนี้ยังเห็นว่าธุรกิจของลูกหนี้มีอนาคตและมีความสามารถชำระคืนในระยะยาว เจ้าหนี้จะให้เงินทุนหมุนเวียนแก่ลูกหนี้ตามต้องการ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องสามารถควบคุมเงินที่ได้จากการดำเนินงานมาชำระหนี้คืน หากไม่มั่นใจก็ต้องมีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม
4. ยืดเวลาชำระหนี้ออกไปเป็นการยืดเวลาชำระหนี้ชั่วคราว ในช่วงเวลาที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนด ถ้าเพียงแต่ยืดเวลาไม่นานและเป็นครั้งคราวก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว
5. ลดหรืองดดอกเบี้ย หรือตัดชำระคืนเงินต้นก่อน ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับลูกหนี้ที่มีปัญหามากในการดำเนินการ วิธีนี้เป็นการแบ่งเบาภาระลูกหนี้ และทำให้ลูกหนี้มีโอกาสอยู่รอดในระยะยาวได้และสามารถชำระหนี้คืนในอัตราปกติ วิธีนี้เป็นการช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการประกอบธุรกิจต่อไปเพราะยังมองเห็นโอกาสในการฟื้นตัว
6. การ Split หนี้ (แยกหนี้เป็นส่วน) เจ้าหนี้ต้องตกลงกับลูกหนี้ให้ผู้รับผิดชอบในหนี้นั้นแบ่งการรับผิดชอบออกเป็นส่วนๆตามความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละส่วน การกำหนดเงื่อนไข หลักประกัน อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงินที่ผ่อนชำระแตกต่างกันไปตามความสามารถในการชำระหนี้ เช่น บริษัท ก จำกัด มีผู้ถือหุ้น 3 คน มีเงินกู้ 9,000,000 บาท ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบวงเงินกู้คนละ 3,000,000 บาท
7. การเข้าไปช่วยบริหาร ลูกหนี้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน ไม่มีปัญหาทางการตลาด ไม่มีปัญหาทางการเงิน แต่การดำเนินงานขาดทุนทุกปี แนวโน้มความสามารถในการชำระหนี้ลดลง เจ้าหนี้จะแก้ไขปัญหาโดยการส่งเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์หรือจ้างที่ปรึกษาที่มีความชำนาญเข้าไปช่วยเหลือกิจการ ซึ่งลูกหนี้ต้องให้ความร่วมมือด้วยวิธีนี้จึงจะประสบผลสำเร็จ
8. ชักชวนผู้ถือหุ้นใหม่ (Take Over) เกิดขึ้นในกรณีที่ลูกหนี้ประสบปัญหาอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ผู้ถือหุ้นเดิมหมดกำลังใจในการทำธุรกิจต่อ เจ้าหนี้เห็นว่ากิจการใหญ่เกินไปที่กลุ่มผู้บริหารเดิมจะดำเนินการได้ เจ้าหนี้จึงเชิญชวนผู้ถือหุ้นใหม่หรือนักลงทุนใหม่เข้ามาซื้อกิจการจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นใหม่ เจ้าหนี้อาจดึงดูดโดยการลดหนี้ให้บางส่วน ยืดเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น หรือยินยอมแปลงหนี้บางส่วนมาเป็นทุนก็ได้
9. ให้ขายทรัพย์สินชำระหนี้ เกิดในกรณีที่ลูกหนี้บางรายอาจมีสินทรัพย์บางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโดยปกติของกิจการ เจ้าหนี้จะให้ขายสินทรัพย์เหล่านั้นมาชำระคืน
10. รับโอนทรัพย์สินชำระหนี้ ลูกหนี้และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ค้ำประกัน) ไม่มีหนทางชำระหนี้ได้ แต่มีทรัพย์สินอยู่บางรายการ เช่น ที่ดิน เครื่องจักรซึ่งยังไม่สามารถขายได้ทันทีในตอนนี้ แต่ลูกหนี้มีเจตนาที่จะโอนทรัพย์สินมาใช้หนี้ ถ้าเจ้าหนี้พิจารณาแล้วเห็นว่าราคาที่ใช้โอนลดหนี้นั้นเหมาะสม รวมทั้งผู้ค้ำประกันอื่นๆ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ควรรับโอนทรัพย์สินเข้าชำระหนี้ หากปล่อยให้นานไปทรัพย์สินอาจหลุดมือไปอยู่ในมือของเจ้าหนี้รายอื่นได้
11. รับโอนบุริมสิทธ์ ลูกหนี้ไม่มีหลักประกันให้เจ้าหนี้ แต่มีหลักประกันให้เจ้าหนี้รายอื่น ถ้าหลักประกันนั้นมีมูลค่ามากเกินกว่ายอดหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น ก็อาจจะทำได้โดย ขอมีบุริมสิทธิร่วมโดยการจดจำนองเพิ่ม หรือเจ้าหนี้ไม่มีหลักประกันไปซื้อหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันมาก็ได้
12. ช่วยเจรจากับเจ้าหนี้ภายนอก กรณีนี้มีเจ้าหนี้หลายๆ ราย การแก้ปัญหาอาจจะนำหนี้ของเจ้าหนี้ภายนอกเข้ามาอยู่ในแผนของการแก้ไขหนี้ทั้งหมดได้
13. เพิ่มหลักประกัน กรณีที่กิจการมีปัญหาการชำระคืน แล้วหลักประกันที่มีอยู่ไม่คุ้มกับหนี้ที่มีอยู่ แต่เจ้าหนี้คาดว่าธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้
14. หาตลาดผู้ซื้อ/ผู้ขายให้ เจ้าหนี้เป็นคนกลางในการหาตลาดในการขายสินค้าหรือเป็นคนกลางในการหาแหล่งวัตถุดิบให้ เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถซื้อวัตถุดิบได้เอง
15. หาเงินทุนจากแหล่งอื่นให้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่สามารถเพิ่มสินเชื่อได้เอง อาจหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งอื่น เช่น แหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย จาก Exim Bank จาก IFCT เป็นต้น
16. ให้คนอื่นช่วยทวงหนี้ ให้บุคคลที่ลูกหนี้มีความเกรงใจช่วยทวงหนี้ให้
17. ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่
18. เปลี่ยนตัวผู้บริหาร
19. ให้ทนายความออกหนังสือทวงถาม
20. ดำเนินคดี

กลยุทธการวางระบบกลั่นกรองลูกหนี้ที่มีปัญหา

กลยุทธการวางระบบกลั่นกรองลูกหนี้ที่มีปัญหา 

 

กลยุทธ์ 1 : การปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เร่งรัดหนี้สินได้ (เก็บเงินได้)

  • มีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนรัดกุม เพื่อให้ได้สินเชื่อที่มีคุณภาพหรือความเสี่ยงน้อยที่สุด
  • มีข้อมูลลูกค้า และผู้ค้ำประกันที่ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถใช้ในการติดตามหนี้ได้
  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีไหวพริบ ประสบการณ์

กลยุทธ์ 2 : การจัดทำบัญชีภายใน – ภายนอก
การจัดบัญชีภายใน - การรวบรวมรายชื่อลูกหนี้ที่เคยมาใช้สินเชื่อแล้วยังค้างชำระหนี้
การจัดทำบัญชีภายนอก - การสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์ประมวลผล จำกัด
- การสมัครเป็นสมาชิกรับข่าวเกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ คำสั่งของทางราชการ
กลยุทธ์ 3 : การตรวจสอบสินเชื่อ
การตรวจสอบสินเชื่อ หมายถึง การตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงของข้อมูลลูกค้า เพื่อนำข้อมูลวิเคราะห์สินเชื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และเป็นข้อมูลในการติดตามเร่งรัดหนี้ 


วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงของลูกค้า
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้า
3. เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาสินเชื่อ
4. เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามเร่งรัดในกรณีหนี้มีปัญหา

ความสำคัญ

 1. เพื่อสนับสนุนฝ่ายสินเชื่อด้านเพื่อใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อ
2. เพื่อลดอัตราเสี่ยงด้านสินเชื่อ
3. เพื่อคุณภาพที่ดีด้านสินเชื่อ
4. เพื่อสนับสนุนฝ่ายเร่งรัดหนี้ด้านข้อมูล

แหล่งข้อมูล 

1. ด้านตัวผู้ขอสินเชื่อ
 2. ด้านเอกสารต่างๆ
กลยุทธ์ 4 : การเก็บเงิน
หน่วยงานที่เริ่มดูแลบริหารจัดเก็บหนี้ คือ หน่วยเก็บเงิน (หน่วยติดตามหนี้สิน)

กลยุทธ

 1. พยายามอย่าให้ค้างเพราะจะทำให้เสียลูกค้าต่อไป
2. ต้องเก็บเงินให้ตรงเวลานัด
3. อย่าให้ลูกค้านัดชำระนานเกินไป
4. ต้องติดตามลูกค้าทุกราย

งานเก็บเงินที่ดีควรประกอบด้วย 

1. เน้นการป้องกันหนี้สูญ
2. ขยันและเอาใจใส่ให้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต

การเร่งรัดหนี้เป็นวิธีที่ประกอบด้วย

  • การเจรจา โดยคำนึงถึงความประหยัด คือ ลงทุนน้อยแต่ต้องใช้จิตวิทยา
  • ใช้จดหมายเตือน
  • สืบหาตัวลูกหนี้ , ตัวทรัพย์สิน
  • เร่งรัดหนี้สิน

กลยุทธ์ 5 : การเร่งรัดหนี้สิน
กลยุทธ์ 6 : เทคนิคการยึดทรัพย์ เป็นมาตรฐานการแก้ปัญหาขั้นสุดท้ายของการเก็บเงินหรือการเร่งรัดหนี้