แนวคิดเริ่มต้นเกี่ยวกับการบริหารสินเชื่อ
สินเชื่อ(credit) ถูกนำมาเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเงินตรา (money) แม้ว่าสินเชื่อจะไม่ใช่เงินตรา(No money)
แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า สินเชื่อ มีความใกล้เคียงเงินตรา (Near Money)
มากที่สุด แต่การใช้สินเชื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนนั้น จะมีความแตกต่างจากการใช้เงินตราเนื่องจาก สินเชื่อมีลักษณะเป็นสัญญาผูกพัน (promise)
ที่มีผลต่อเนื่องไปสู่อนาคต ในอันที่จะต้องมีการไถ่ถอนหนี้สินโดยการชำระหนี้ตามข้อผูกพัน
สินเชื่อ ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวของของการผลิตสินค้าและบริการ
ในทางสังคมสินเชื่อ ยังทำให้พฤติกรรมและคุณภาพในชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการผลิต การบริโภค
และการใช้จ่ายของหน่วยงาครัวเรือนและ หน่วยธุรกิจ
ความเป็นมาและความสำคัญของสินเชื่อ
แต่เดิมการชื้อขายแลกเปลี่ยนจะใช้สินค้าหรือสิ่งของการแลกเปลี่ยนกันต่อมาได้มีการใช้โลหะมีค่า มาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนมีการนำกระดาษมาเป็นสื่อกลางใน การแลกเปลี่ยน
ความหมายของสินเชื่อ
1. ความหมายของสินเชื่อโดยทั่วไป
คำว่าสินเชื่อ (Credit) มาจากศัพท์ในภาษาลาตินของคำว่า Credere
แปลว่าความเชื่อถือหรือความไว้วางใจ (to trust or to believe)
ว่าฝ่ายที่รับสินเชื่อ จะต้องมีการชำระหนี้คืนภายในระยะเวลาและเงื่อนไงที่กำหนด
ความหมายของสินเชื่อก็คือ ความสามารถในการกู้ยืมเงิน
หรือความสามารถในการได้รับสินค้าบริการเป็นเงินเชื่อ โดยมีคำมั่นสัญญา ว่าจะชำระคืน
(Repayment) ในอนาคต
2 ความหมายของสินเชื่อที่มีลักษณะเฉพาะ
2.1 ความหมายของสินเชื่อที่ในแง่ของผู้บริโภค หมายถึง
ความสามารถที่จะได้รับสินค้าหรือบริการไปใช้ก่อน
โดยมีข้อตกลงว่าจะมีการชำระคืนสินค้าหรือบริการต่อไปในภายหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความหมายของสินเชื่อในแง่ของการค้า หมายถึง
ความเชื่อถือที่ผู้ขายมีต่อผู้ชื้อและยอมมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ชื้อไปก่อนโดยมีข้อตกลงว่าจะ
ชำระค่าสินค้าหรือบริการในวันข้างหน้าตามแต่จะตกลงกันระหว่างผู้ชื่อและผู้ขายซึ้งก่อให้เกิดภาวะความเป็นลูกหนี้ต่อกัน
2.3 ความหมายของสินเชื่อในแง่ของสถาบันการเงิน หมายถึง บริการชนิดหนึ่งของสถาบันการเงินที่ก่อให้เกิดรายได้ หลักสถาบันการเงิน
และมีความสำคัญที่มีผลกระทบต่อระบบธุรกิจของชุมชนด้วย
กระบวนการให้สินเชื่อ
จากความหมายของสินเชื่อดังกล่าว สรุปเป็นกระบวนการสินเชื่อได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1 การเกิดรายการสินเชื่อ (Credit Transaction) เริ่มจากที่บุคลทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน
ที่จะทำการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ หรือการให้กู้ยืม โดยมีสัญญา
และเงื่อนเวลาที่จะชำระเงินคืนในอนาคต
2 สถานะทางสินเชื่อ (Credit Standing) เมื่อได้มีการตกลงกันที่จะให้สินเชื่อ แล้วสิ่งที่จะต้องพิจารณา และตัดสินใจ ในขั้นต่อมา คือสถานะทางสินเชื่อ ของผู้ขอกู้ หรือขอใช้บริการ
สินเชื่อ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดทั้งในด้านลักษณะส่วนตัว
ผลประกอบการชื่อเสียงของการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนความสามารถที่จะชำระหนี้
สถานะทางสินเชื่อ จะเป็นตัวบ่งชี้ของการยอมรับของการกำหนด วงเงินสินเชื่อ เงื่อนไขเวลาของการ ให้สินเชื่อ ว่ามีมากน้อยเพียงใด และอย่างไรซึ่งสิ่งเหล่านี้
จะมีความแตกต่างกันในผู้ขอสินเชื่อแต่ละราย
3 การใช้เครื่องมือประกอบด้านสินเชื่อหรือตราสารสินเชื่อ (Credit Instrument) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนกากรสินเชื่อ ที่จะต้องมีการทำหลักฐานเพื่อแสดงการตกลงเกี่ยวกับ
วงเงินสินเชื่อ เงื่อนไข และเงื่อนไขเวลา ที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ได้แก่ ตราสาร หรือสัญญา
ที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้ในอนาคต เช่น หนังสือสัญญาเงินกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน
หรือเช็ค เป็นต้น ดังนั้น เครื่องมือประกอบด้านสินเชื่อ จึงหมายถึง หลักฐานแสดงถึงสภาพหนี้
เงื่อนไข และเงื่อนไขเวลา การชำระหนี้ที่จัดทำขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการประกอบการด้านสินเชื่อ
ความสำคัญของสินเชื่อ
สินเชื่อมีความสำคัญทางด้านผู้ผลิต และผู้บริโภค ในฐานะของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโดยอาศัยความเชื่อและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้รับสินเชื่อ สามารถนำสินค้าและบริการ ไปใช้เพื่อตอบสนอง ความต้องการก่อนแล้วผ่อนชำระที่หลังโดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูง หากไม่มีสินเชื่อเข้ามาเป็นสื่อกลาง
ก็เป็นการยากที่จะเกิดการแลกเปลี่ยน ระหว่างกันได้แสดงว่าสินเชื่อได้เพิ่ม อานาจซื้อให้แก่บุคลมากขึ้นซึ้งจะมีผลต่อการขยายการผลิตสินค้าและ
บริการตามไปด้วยและจะมีผลต่อการจ้างงาน การชื้อวัตถุดิบ ทำให้คนในสังคมมีรายได้ เพิ่มขึ้น
ความสำคัญของสินเชื่อ ในทางสังคมนั้น สินเชื่อมีผลให้พฤติกรรม การผลิต การบริโภค
และการใช้จ่าย ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้อีกด้วย
บทบาทของสินเชื่อ
สินเชื่อมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจต่อผู้บริโภค
ผู้ผลิตและผู้ให้บริการทั้งต่อสถาบันการเงิน ดังนี้
1. บทบาทของสินเชื่อต่อผู้บริโภค
สินเชื่อสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีขึ้นกว่าเดิม
โดยผู้บริโภคสามารถจัดหาสินค้าและบริการมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการได้สะดวกรวดเร็ว
และทันต่อความต้องการ โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นและมีราคาสูง เช่น บ้าน ที่ดิน
และสิ่งอานวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นต้น นอกจากนี้
สินเชื่อยังช่วยขจัดความทุกข์ยากได้ในคราวจำเป็น เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน
หรือกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
2. บทบาทของสินเชื่อต่อผู้ผลิตและผู้ให้บริการ สินเชื่อทำให้ผู้ผลิตมีทุนเพียงพอสาหรับขยายการผลิตและยิ่งผลิตได้มากต้นทุนการผลิตจะลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ผลิตสามารถระบายสินค้าออกไปได้มากและรวดเร็วด้วยวิธีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของการจัดเก็บ และการดูแลรักษาสินค้า
ทั้งยังเป็นการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
3. บทบาทของสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินเกือบทุกแห่งมีรายได้จากธุรกิจสินเชื่อเป็นรายได้หลัก จากการที่สถาบันการเงินมีหน้าที่ในการระดมเงินออมจากผู้มีเงินเหลือ
เก็บออมและนำเงินดังกล่าวมาหมุนเวียนให้แก่ผู้ออมกับอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากผู้กู้ (Spread)
ตลาดการเงิน (Market money) และสถาบันการเงิน (Financial Institution)
ตลาดการเงิน (Market money)
สินเชื่อถือว่าเป็นสินทรัพย์ (Asset) ประเภทหนึ่งทางเศรษฐกิจ การดำเนินกิจกรรมเกี่ยว
กับสินเชื่อ จำเป็นต้องมีตลาด
และผู้ประกอบการที่มีความชานาญเฉพาะด้านดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดสินเชื่ออย่างถ่องแท้ จำเป็นต้องกล่าวถึงตลาดการเงิน (Financial Market) และสถาบันการเงิน (Financial
Institution)
ด้วยเพราะตลาดการเงินจะเป็นแหล่งอานวยความสะดวกแก่ผู้ต้องการใช้เงินลงทุนโดยมีสถาบัน
การเงินเป็นกลไก ทางการเงินในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินออมทั้งภาครัฐและเอกชน มาเป็นทุนให้แก่ผู้ต้องการใช้เงินทุน
ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา หน่วยงานธุรกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในตลาดการเงิน (Financial
Market) มักจะประกอบด้วย ตลาด 2 ตลาด ได้แก่ตลาดเงิน (Market money) และตลาดทุน
(Capital Market)
1. ตลาดเงิน (Market money) หมายถึง แหล่งจัดหาเงินทุน ได้แก่ ผู้ต้องการ
เงินทุนระยะสั้น เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือเพื่อใช้เสริมสภาพคล่องให้แก่หน่วยธุรกิจ
2 ตลาดทุน (Capital Market) หมายถึงแหล่งจัดหาเงินทุน ระยะยาว
เพื่อใช้ในการลงทุนของผู้ประกอบการ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือหุ้นสามัญเป็นต้น
สถาบันการเงิน (Financial Institution)
หน้าที่หลักของสถาบันการเงิน 3 ประการ
1. หน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน (Intermediation function) โดยการระดมเงินออมจากผู้มีเงินเหลือออมแล้วนำเงินไปให้กู้แก่ประชาชน หน่วยธุรกิจหรือหน่วยงาน
ของรัฐที่มีความต้องการเงินทุน
2. หน้าที่ในการลดความเสี่ยง (Risk minimization) การที่ผู้มีเงินเหลือออม
นำเงินไปให้ผู้ต้องการลงทุนโดยตรงจะมีความเสี่ยงสูง
สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยง
3. ทำหน้าที่ในการจัดหาตลาดหรือสภาพคล่อง
(Function to Provide liquidity)
โดยสถาบันการเงินจะเป็นผู้ติดต่อหาแหล่งเงินทุนที่เพียงพอกับความต้องการให้แก่ผู้ต้องการทุน
ในลักษณะของการค้าประกันการกู้ยืม
หรือประกันการจำหน่ายหุ้นของผู้ต้องการเงินทุนในปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด
หลักการบริหารสินเชื่อ
การบริหารสินเชื่อจะต้องใช้ทั้งหลักการบริหารทั่วไปและหลักการบริหารสินเชื่อเฉพาะ
หลักการบริหารทั่วไป
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organizing)
3. การจัดกาลังคนให้เหมาะสมกับงาน (Staffing)
4. การกำหนดสายงานการบังคับบัญชา (Directing)
5. การควบคุม (Controlling)
หลักการบริหารเฉพาะที่ใช้กับสินเชื่อ
1. การควบคุมลูกหนี้ให้ใช้เงินกู้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์
2. การควบคุมให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลง
3. การช่วยเหลือดูแลการดำเนินงานของลูกหนี้
4. การดูแลหลักประกันไม่ให้เสื่อมค่า
5. การดูแลอายุความและความสมบูรณ์ของเอกสารสัญญา
6. การเตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี
ขั้นตอนของงานสินเชื่อ
ในการดำเนินงานสินเชื่อสามารถกำหนดขอบเขตของการดำเนินงานกว้าง ๆ ได้เป็น
2 ส่วน คือ ส่วนของการดำเนินการให้สินเชื่อ และส่วนของการเรียกเก็บหนี้
การดำเนินการให้สินเชื่อ
1. แสวงหาและคัดเลือกลูกค้า
2. รับใบคำขอใช้บริการสินเชื่อ
3. สัมภาษณ์ลูกค้าผู้ต้องการสินเชื่อ
4 การวิเคราะห์สินเชื่อ เป็นการวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
5. การกำหนดวงเงินสินเชื่อ และการอนุมัติสินเชื่อ
6. การแจ้งให้ลูกค้าทราบการอนุมัติสินเชื่อ
7. การจ่ายสินเชื่อ ตามที่ได้รับอนุมัติ
8. การตรวจสอบการใช้เงินกู้
การดำเนินการเก็บหนี้ เป็นการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับชำระหนี้คืน
1. การแจ้งหนี้หรือการเตือน
2. การติดตามทวงหนี้
3. การใช้มาตรการที่รุนแรง
วิธีการเรียกเก็บหนี้ควรดำเนินการตามมาตรการตั้งแต่เบาไปหาหนัก และควรแยกแยะให้ออกว่าลูกหนีรายใดควรใช้มาตรการใด นอกจากนี้พนักงานที่ดำเนินการเรียกเก็บหนี้จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนและมีกลยุทธ์ที่แยบยล โดยจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียกเก็บหนี้เป็นการล่วงหน้าเพื่อให้การเรียกเก็บหนี้บรรลุเป้าหมาย
ข้อมูลสินเชื่อ
ข้อมูลสำคัญในการประเมินคุณภาพสินเชื่อ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ขอสินเชื่อ
2. ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ
3. ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การตลาด และภาวะเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์ในการหาข้อมูล
1. ความเพียงพอ
2. ทันต่อเวลา
3. ความถูกต้องของข้อมูล
4. ค่าใช้จ่าย
การจำแนกข้อมูล
ข้อมูลสินเชื่อจะประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลขและข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข ข้อมูลที่ต้องรวบรวมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ประวัติส่วนตัวของผู้ขอสินเชื่อ ความซื่อสัตย์ ความมีชื่อเสียง ความสามารถในการประกอบการ ประวัติการชำระหนี้
การหาข้อมูลดังกล่าวทำได้โดยการไปสอบถามจากตัวผู้ขอให้สินเชื่อหรือบุคคลที่ใกล้ชิด ไปตรวจสอบที่บ้านหรือสถานประกอบการของผู้ขอใช้สินเชื่อ
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขซึ่งรวบรวมมาสาหรับใช้วิเคราะห์ฐานะของผู้ขอสินเชื่อสถานะของโครงการที่ขอสินเชื่อ
แหล่งข้อมูล
1. แหล่งข้อมูลทางตรง
2. แหล่งข้อมูลทางอ้อม
หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาสินเชื่อ
หลักการสำคัญของการพิจารณาสินเชื่อก็คือต้องการให้ลูกค้าผู้กู้นำสินเชื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยให้ครบถ้วนตาม
กำหนดเวลา ซึ่งหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณา ได้แก่
1.วัตถุประสงค์และนโยบายการให้สินเชื่อขององค์การ
2.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแยกหมวดหมู่ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
2.1 กฎหมายหลักที่ควบคุมการประกอบการ ได้แก่
พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน เช่น พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
พระราชบัญญัติการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475พระราชบัญญัติดอกเบี้ยการกกู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 รวมทั้งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 หรือ
พระราชบัญญัติสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน และพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
2.2 บทบัญญัติในการประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งความรู้พื้นฐานในการประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์นี้จัดเป็นหลักทั่วไปที่ควรทราบ,เช่นบทบัญญัติในเรื่องหนี้ การฝากทรัพย์ การจำนอง จำนำ
หรือเอกเทศสัญญาโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัด และตั๋วเงิน เป็นต้น
2.3 ระเบียบคำสั่งกระทรวงการคลังหรือของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์ที่ควบคุมการบริหารของสถาบันการเงิน และมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของสถาบัน การเงิน
2.4 กิจการหรือนิติกรรมที่อยู่นอกขอบเขตของกฎหมายหลักซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ เช่น หลักปฏิบัติในด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศ
การดำเนินการในเรื่องเลตเตอร์ออฟ เครดิต การให้บริการบัตรสินเชื่อ
สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงความถูกต้องด้านกฎหมาย
3. การพิจารณาคำขอสินเชื่อเบื้องต้น
ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเบื้องต้นว่าโครงการที่เสนอมานั้นมีลู่ทางบรรลุผลสาเร็จหรือไม่
นโยบายสินเชื่อ
วัตถุประสงค์ของการกำหนดนโยบายสินเชื่อมี 3 ประการคือ
1. เพื่อใช้ในการดำเนินงานสินเชื่อของสถาบันการเงินมีหลักเกณฑ์และทิศทางที่ชัดเจน
2.เพื่อให้การใช้เงินทุนของสถาบันการเงินเกิดผลกาไรและเป็นประโยชน์ต่อองค์การ
3. เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของสินเชื่อสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเงิน
นโยบายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น
ในกรณีที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสถาบันการเงินแต่ละแห่งก็จะกำหนดนโยบายเน้นหลักการให้สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ในช่วงที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ
สถาบันการเงินจะเปลี่ยนนโยบายการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทนี้ในลักษณะที่จำกัดเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ปัจจัยในการกำหนดนโยบายสินเชื่อ
1. กฎหมายและเงื่อนไขต่าง ๆ
2. สถานภาพการเงินของธุรกิจ
3. ผลกาไรและความเสี่ยงที่สถาบันการเงินยอมรับได้
4. ปริมาณและประเภทของเงินฝาก
5. ภาวะเศรษฐกิจ
6. นโยบายการเงินของรัฐบาล
7. ความสามารถของด้านบุคลากรในด้านสินเชื่อ
การจัดสายงานสินเชื่อ
ในการบริหารจัดการองค์การของหน่วยธุรกิจไม่ว่าจะเป็น
ธุรกิจประเภทใดลักษณะของการดำเนินงานก็ยึดหลักเหมือนกันคือหลักการบริหาร
ซึ่งได้แก่การวางแผน การจัดองค์การ การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานและควบคุมการดำเนินงานด้านสินเชื่อก็ต้องใช้หลักการในทำนองเดียวกัน
แต่ความยุ่งยากที่ผู้บริหารระดับสูงมักพบในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้
คือ การประสานงานระหว่างสานงานต่าง ๆ
ภายในองค์การให้สามารถดำเนินไปอย่างประสานสอดคล้องกัน
เพราะการดำเนินงานของสายงานสินเชื่อจะต้องไปเกี่ยวพันกับสายงานอื่น ๆ เช่น
สายงานการเงินบัญชี สายงานการตลาด และสายงานกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
การจัดสายงานสินเชื่อให้เป็นไปในรูปแบบใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะและนโยบายของสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยอาจพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นส่วนประกอบ
1. ขนาดของการให้บริการสินเชื่อ
2. ลักษณะของการบริการสินเชื่อ
3. ประเภทของลูกค้า
4. จำนวนและคุณภพของลูกหนี้
5. การติดต่อกับลูกค้า
6. การติดต่อประสานงานและการสนับสนุน
ความสำคัญของพนักงานสินเชื่อ
งานหลักทีสำคัญประการหนึ่งของธนาคารก็คือการเพิ่มปริมาณเงินกู้ที่มีคุณภาพและเหมาะสมสัมพันธ์กับอัตราความเจริญเติบโตของเงินฝากหรือปริมาณเงินทุนที่ได้รับมา
เพราะนั่นหมายถึง การสร้างรายได้ที่สำคัญให้แก่ธนาคารและเมื่อสามารถเพิ่มปริมาณการจ่ายเงินกู้ที่มีคุณภาพได้แล้ว
ธนาคารก็มุ่งหวังให้ลูกค้า ผู้กู้สามารถชำระคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยได้ภายในเวลาที่กำหนด
แต่การดำเนินการดังกล่าวจะประสบความสาเร็จได้ธนาคารต้องมีพนักงานสินเชื่อ (Loan
Officer) ที่มีความสามารถและรับผิดชอบสูง ซึ่งพนักงานสินเชื่อจะต้องรับผิดชอบ ดังนี้
1.ความรับผิดชอบต่อธนาคารหรือองค์การ
2.ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
3.ความรับผิดชอบต่อสังคม
คุณสมบัติที่สำคัญของพนักงานสินเชื่อมีดังนี้
1. พื้นฐานความรู้ จะมีวุฒิการศึกษาในด้านใดก็ได้แต่ควรมีพื้นฐานความรู้ในด้านบัญชีการเงินด้วย
2. ความสามารถในการวางแผน
3. ความสามารถในการหาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
4. ความสารถในการสื่อสาร
5. ความซื่อสัตย์
6. ความกระตือรือร้นและความเต็มใจในการให้บริการ
7. ความสามารถในการให้คำปรึกษาแนะนำ